วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

ดูแลอย่างไร เมื่อเป็นประจำเดือน

ก่อนเป็นประจำเดือน ผู้หญิงอย่างเราควรทานอาหารประเภทแคลเซียมเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการดื่มนม ทานปลาเล็กปลาน้อย เพื่อช่วยลดอาการปวดท้องน้อย ปวดหลัง และลดอาการหงุดหงิด เหวี่ยงคนใกล้ชิด นอกจากแคลเซียมแล้ว สารอาหารอื่นๆก็ควรรับประทานเพิ่ม เช่น วิตามินซี วิตามินดี และโปรตีน เพื่อเสริมในช่วงเสียเกลือแร่ ทำให้ร่างกายไม่เหน็ดเหนื่อย จนเกินไปสำหรับธัญพืช ช่วยในเรื่องระบบขับถ่ายและยังทำให้ประจำเดือนเป็นไปอย่างราบรื่นอีกด้วย ฉะนั้นผู้หญิงควรทานอาหารประเภทธัญพืชให้บ่อยขึ้นเพื่อสุขภาพ หากปวดท้องประจำเดือน ควรทานน้ำขิง ชาขิง หรือเต้าฮวยร้อนๆ และนอนพักผ่อนให้มาก งดอาหารรสจัดและเครื่องดื่มคาเฟอีน

การรักษาความสะอาด
เป็นที่รู้กันดีว่า ระหว่างมีประจำเดือนนั้น ผู้หญิงจะไม่มั่นใจในเรื่องกลิ่น แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือการติดเชื้อได้หากรักษาความสะอาดไม่ดีพอ
1. ก่อนเป็นประจำเดือน สามารถเล็มขนเพชร เพื่อให้การทำความสะอาดเป็นไปได้อย่างง่ายดายและไม่เกิดกลิ่นที่สะสมเอาไว้
2. ไม่ควรอาบน้ำที่เย็นจัด หรือร้อนจัด เพื่อคงอุณหภูมิร่างกายให้ปกติ
3. การทำความสะอาดด้วยสบู่ ล้างเฉพาะภายนอกเท่านั้น ห้ามสวนล้างเข้าในช่องคลอด จะเกิดอันตรายได้
4. การเปลี่ยนผ้าอนามัย ควรเปลี่ยนทุกๆ 2-3 ชั่วโมง หรือในช่วงสองวันแรกหากมีเลือดประจำเดือนเยอะ ควรเปลี่ยนบ่อยๆ เพื่อไม่ให้เกิดความอับชื้นและกลิ่นที่หมักหมม
5. หากมีผื่นขึ้น อาจเกิดอาการแพ้ ควรเปลี่ยนยี่ห้อผ้าอนามัย และเลือกใช้ชนิดที่ไม่มีน้ำหอมที่จะทำให้ระคายเคือง และไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา

ลดอาการปวดท้องประจำเดือน
1. ทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดอาหารมัน ทานนมเพิ่มขึ้นก่อนเป็นประจำเดือน
2. ออกกำลังกายเบาๆขณะมีประจำเดือน

วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)




พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งประชาชาติไทยได้พร้อมใจกันถวายพระนามแด่พระองค์ว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง หรือ สมเด็จพระปิยมหาราช และพากันน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระองค์อยู่ในทุกวันนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเป็นพระบรมราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพสิรินทราบรมราชินี พระองค์ประสูติ เมื่อปีฉลู วันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2396 ได้เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ เมื่อวันพุธ เดือน 12 แรม 12 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2411 เมื่อพระชนม์ได้ 16 พรรษา ได้เสด็จสวรรคตเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 11 แรม 5 ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 เมื่อพระชนมายุได้ 58 พรรษา เสวยราชสมบัติได้ 42 ปี

ตลอดเวลา 42 ปี ที่สมเด็จพระปิยมหาราชได้เสวยราชสมบัตินั้น พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติเป็นอเนกประการ โดยเฉพาะในรัชสมัยของพระองค์นั้น เป็นระยะเวลาที่อารยธรรมสมัยใหม่ได้เข้ามาสู่ชาติไทย และเป็นพื้นฐานให้ชาติไทยได้เจริญก้าวหน้าตลอดมาจนถึงสมัยทุกวันนี้ ปัจจัยแห่งอารยธรรมสมัยใหม่ที่ได้ริเริ่มในรัชสมัยของพระองค์มี อาทิเช่น การประปา การไฟฟ้า การไปรษณีย์โทรเลข การรถไฟ การตัดถนนหนทาง การแพทย์ การสาธารณสุข การศาล การทหาร การจัดระบบการศึกษาแบบใหม่ การตั้งโรงพยาบาล และการจัดระบบการบริหารราชการแผ่นดินตามแบบอย่างอารยประเทศ การเลิกทาส การจัดตั้งสภาเสนาบดี อันเป็นวิธีการของการปกครองอย่างระบอบประชาธิปไตย เป็นต้น ซึ่งได้เริ่มขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระปิยมหาราชนี้ ซึ่งแต่กาลสมัยก่อนนั้น เมืองไทยยังไม่มีปัจจัยแห่งอารยธรรมสมัยใหม่อันสำคัญดังกล่าวนี้ และประการสำคัญอีกประการหนึ่ง ก็คือการจัดส่งพระราชโอรสและนักเรียนไทยไปศึกษาในต่างประเทศ ซึ่งได้กลับมาเป็นกำลังสำคัญแก่ประเทศชาติมากที่สุด นับว่าพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์สำคัญพระองค์หนึ่งในประเทศประวัติศาสาสตร์ของชาติไทย ที่ได้ทรงสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ชาติไทยอย่างใหญ่หลวง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 โปรดให้สถาปนาพระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรีเป็นนางเธอฯ ในต้นรัชกาลนั้น และเลื่อนเป็นพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี เมื่อปี พ.ศ.2423 ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระนางสุนันทากุมารีรัตน์สิ้นพระชนม์ ครั้น พ.ศ.2437 สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ มกุฎราชกุมารพระองค์แรกในกรุงสยามซึ่งเป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ 5 อันประสูติแต่สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี เสด็จทิวงคต พระพุทธเจ้าหลวงปิยมหาราชจึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ กรมขุนเทพทวาราวดี พระราชโอรสที่ประสูตแต่พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี เลื่อนขึ้นเป็นมกุฎราชกุมารแทน และโปรดเกล้าฯ ให้พระชนนีของมกุฎราชกุมารนั้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอัครราชเทวี

สมเด็จพระศรีพัชรินทรา พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 5 มีพระนามเดิม พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา รวม 9 พระองค์คือ

1. สมเด็จเจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย เป็นกรมพระเทพนารีรัตน์ ในรัชกาลที่ 6 ประสูติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2421 แต่พระองค์สิ้นพระชนม์แต่พระชันษา 9 ปี

2. สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ คือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ประสูติเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2423 ต่อมาทรงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเทพทวาราวดี และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ตามลำดับ ภายหลังเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6

3. สมเด็จเจ้าฟ้าตรีเพชรรุตมธำรง ประสูติเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2424 สิ้นพระชนม์เมื่อมีพระชันษาเพียง 7 พรรษา

4. สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ เป็นกรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ต้นสกุลจักรพงษ์ ประสูติเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2425 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2463

5. สมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกุกุธภัณฑ์ ประสูติเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2428 สิ้นพระชนม์แต่พระชันษา 3 ปี

6. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง สิ้นพระชนม์ในวันที่ประสูติ

7. สมเด็จเจ้าฟ้าอัษฎางคเดชาวุธ เป็นกรมหลวงนครราชสีมา ประสูติเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2432 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2467

8. สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก เป็นกรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย ประสูติเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2435 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2466

9. สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิ์เดชน์ เป็นกรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา ประสูติเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2436 และเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 7

สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี ในรัชกาลที่ 5 มีพระนามเดิม “สว่างวัฒนา” ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา รวม 8 พระองค์คือ

1.สมเด็จเจ้าฟ้าชายมหาวชิรุณหิศฯสมเด็จพระบรมราชโอรสาธิราชสยามกุฎราชกุมาร ประสูติเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2421 สวรรคตเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2432 พระชนมายุได้ 16 พรรษาเศษ

2. สมเด็จเจ้าฟ้าชายอิศริยาภรณ์ ประสูติเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ.2428 มีพระชนมายุได้เพียง 21 วัน ก็สิ้นพระชนม์

3. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงวิจิตรจิรประภา ประสูติเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2424 มีพระชนมายุได้ 3 เดือน กับ 24 วันก็สิ้นพระชนม์

4. สมเด็จเจ้าฟ้าชายสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ ประสูติเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2425 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2442 มีพระชนม์มายุได้ 17 พรรษา

5. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ประสูติเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2427 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2481 มีพระชนม์มายุได้ 54 พรรษาเศษ

6. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงศิราภรณ์โสภณ ประสูติเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2431 สิ้นพระชนมเมื่อพระชนม์มายุได้ 9 พรรษา

7. สมเด็จเจ้าฟ้าชายมหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ ประสูติเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2434 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2470 เมื่อมีพระชนมายุได้ 37 พรรษา นับว่าพระองค์มีพระบุญญาธิการอันยิ่งใหญ่ที่พระโอรสได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินถึง 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอนันทมหิดล รัชกาลที่ 8 และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 และต่อมาในรัชกาลที่ 9 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศเฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระราชบิดากรมหลวงสงขลานครินทรว่า สมเด็จพระมหิตลาธิเบศธ์อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และประกาศเฉลิมพรนามาภิไธย สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลว่า “สมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชชนนี”

8. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงประสูติได้ 3 วัน ก็สิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา รวมทั้งสิ้น 77 พระองค์

ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ นี้ เป็นระยะเวลาที่มหาอำนาจตะวันตกได้แผ่อำนาจมาทางเอเซียอาคเนีย์ หลายประเทศต้องตกเป็นเมืองขึ้นของมหาอำนาจตะวันตกแต่ด้วยพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระปิยมหาราช พระองค์ได้ทรงยอมเสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศสถึง 5 ครั้ง และแก่อังกฤษ 1 ครั้ง เพื่อรักษาเอกราชของประเทศชาติเอาไว้ ดังนี้

การเสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศสในช่วงแรก พ.ศ.2410 – 2436 (ค.ศ.1867 – 1893)

ครั้งที่ 1 เสียเขมรส่วนนอก พ.ศ.2410 (ค.ศ.1867)

ครั้งที่ 2 เสียแคว้นสิบสองจุไทย พ.ศ.2431 (ค.ศ.1888)

ครั้งที่ 3 เสียหัวเมืองเงี้ยวทั้งห้าและหัวเมืองกระเหรี่ยงตะวันออก พ.ศ.2435 (ค.ศ.1892)

ครั้งที่ 4 เสียดินแดนบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง พ.ศ.2436 (ค.ศ.1893)

การเสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศสและอังกฤษในช่วงหลัง พ.ศ.2446 – 2452 (ค.ศ.1904-1909) ดังนี้

ครั้งที่ 1 เสียฝั่งขวาของแม่น้ำโขง : มโนไพร จำปาศักดิ์ และหลวงพระบางบนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศส พ.ศ2446 (ค.ศ.1904)

ครั้งที่ 2 เสียมณฑลบูรพาให้แก่ฝรั่งเศส พ.ศ.2449 (ค.ศ.1907)

ครั้งที่ 3 เสียรัฐไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และประลิศให้อังกฤษ พ.ศ.2452 คิดเป็นเนื้อที่ ๆ เสียดินแดนไปประมาณ 518,700 ตารางกิโลเมตร

พระราชกรณียกิจที่สำคัญการปฎิรูปการปกครองของไทย




พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงปฎิรูปการปกครองของประเทศไทย จากแผนโบราณมายังแผนอารยใหม่ทั้งหมด การที่พระองค์ทรงปฎิรูปการปกครองแบบแผนใหม่นี้ ก็เนื่องมาจากมูลเหตุบางประการคือ

มูลเหตุจากปัญหาภายนอกประเทศ คือในช่วงรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 5 ประเทศต่าง ๆ ที่อยู่รอบประเทศของเราในคาบสมุทรอินโดจีน ล้วนตกอยู่ภายใต้อิทธิพลการปกครองของประเทศมหาอำนาจตะวันตกคือ ฝรั่งเศสและอังกฤษ

มูลเหตุจากภายในประเทศ ประเทศไทยเรายังใช้ระบบแผนโบราณมาปกครองประเทศ ทำให้การบริหารงานปกครองแผ่นดินอืดอาดล่าช้า

ก่อนการปฎิรูประเบียบการบริหารราชการแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับตั้งแต่ พ.ศ.2435 นั้น ดินแดนที่ไทยเราปกครองอยู่แบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ ดินแดนที่เป็นของดั้งเดิมของไทย หรือดินแดนชั้นใน แบ่งการปกครองออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ คือ หัวเมืองชั้นใน อันเป็นที่ตั้งราชธานีคือ กรุงเทพฯ หัวเมืองชั้นในนั้นต้องอยู่ภายในระยะที่จะติดต่อกันได้ภายใน 2 วัน กับหัวเมืองชั้นนอก ดินแดนใหม่ที่ได้ผนวกเข้ามาคือ เมืองประเทศราชนั่นเอง

หัวเมืองชั้นในได้แก่ จังหวัดราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขัน์ กาญจนบุรี สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี สมุทรสาคม นครสวรรค์ ชัยนาท ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และนครนายก
หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ หัวเมืองที่อยู่ถัดออกไปจากหัวเมืองชั้นในทั้งหมด แบ่งออกเป็นเมืองพระยามหานคร ซึ่งมีฐานะเป็นเมืองเอก โท ตรี
ก่อนที่จะมีการปฎิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 รูปแบบการปกครองในสมัยก่อนได้มีเสนาบดี ตำแหน่งสูงสุด 3 ตำแหน่งคือ

สมุหนายก
สมุหกลาโหม
พระยาโกษาธิบดี
ในทางทฤษฎีนั้น อำนาจของเจ้าเมืองอยู่ภายใต้ขอบเขตตามที่พระราชกำหนดบัญญัติไว้ แต่ในทางปฎิบัติแล้ว อำนาจของเจ้าเมืองมีมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าเมืองที่อยู่ไกล ๆ ราชธานีออกไป และความสวามิภักดิ์ต่องค์พระมหากษัตริย์ซึ่งปกครองราชธานีก็มีเพียงแต่ผิวเผินเท่านั้น การปกครองบังคับบัญชาตลอดจนการปฎิบัติหน้าที่ของข้าแผ่นดินก็ปฎิบัติกันในรูปแบบหรือใช้ลัทธิเจ้าขุนมูลนาย เกิดช่องว่างกันมากระหว่างข้าราชการกับราษฎร

ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้เป็นปัญหาที่สำคัญ ซึ่งเพียงพอที่จะชี้ให้เห็นความบกพร่องของการจัดระเบียบและการวางนโยบายการปกครองประเทศหลาย ๆ ด้าน และประกอบทั้งอารยธรรมของตะวันตกก็ได้แพร่หลายเข้ามาในประเทศ พระองค์จึงได้ทรงเปลี่ยนแปลงและแก้ไขการปกครองในส่วนกลาง ซึ่งเวลานั้นมีเพียง 6 กระทรวง และเพื่อให้เหมาะสมกับกาลสมัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของกระทรวงเพิ่มขึ้นอีก 4 กระทรวง เป็น 10 กระทรวง

การออกพระราชบัญญัติเลิกทาส



ในบรรดางานทั้งหลายที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทำเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ ปลดเปลื้องทุกข์ยากของประชาราษฎร์ เป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้ประชาชนชาวเราทั้งหลายถวายพระนามสัญญาว่า “ปิยมหาราช” นั้น งานเลิกทาสดูเหมือนจะนำหน้างานใด ๆ ทั้งสิ้น

งานขั้นต้นของการเลิกทาสได้เริ่มจริงจังขึ้นใน ปี พ.ศ.2417 โดยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชปรารถในที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน เรื่องจะลดเกษียณอายุค่าตัวลูกทาส และจะให้บิดามารดาขายลูกได้ แต่ตามเกษียณอายุ ซึ่งจะตั้งขึ้นใหม่ ห้ามมิให้พ่อแม่ขายลูกเป็นเงินแพงกว่าที่กำหนดไว้ โดยกำหนดค่าตัวทาสไว้อย่างแน่นอนคือ ถ้าเป็นชายให้มีค่าตัว 8 ตำลึง ถ้าเป็นหญิงให้มีค่าตัวเต็ม 7 ตำลึง และเมื่ออายุครบ 21 ปี ให้ขาดจากการเป็นทาสทั้งหญิงและชาย

ในที่สุด พระราชบัญญัติที่แท้จริงทั่วพระราชอาณาจักร คือ มีพระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ ศก 124 (พ.ศ.2448) ในพระราชบัญญัติฉบับนี้เลิกเรื่องลูกทาสในเรือนเบี้ยอย่างเด็ดขาด เด็กที่เกิดจากทาสไม่เป็นลูกทาสอีกต่อไป นับแต่วันออกพระราชบัญญัติฉบับนี้ ห้ามการขายตัวลงเป็นทาส การซื้อขายทาสเป็นโทษทางอาญา ส่วนผุ้ที่เป็นทาสอยู่แล้ว นายเงินต้องลดค่าตัวให้เดือนละ 4 บาท จนกว่าจะหมด ถ้ามีการโยกย้ายเปลี่ยนนายก็มิให้เพิ่มค่าตัวขึ้น

ต่อมาอีก 3 ปี เมื่อได้ประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญาใน พ.ศ.2451 ก็มีบทบัญญัติวางโทษผู้ซื้อขายทาสเท่ากับโจรปล้นทรัพย์ คือ มีโทษจำคุกถึง 7 ปี

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

สถานที่ท่องเที่ยวนอร์เวย์;)






























Sanam Chandra Palace



Sanam Chandra Palace is a tiny castle-like structure built in a combination of French and English styles, but with adaptions for the tropical climate [1] The palace grounds is located on a site Nakhon Pathom, Thailand and consists of five buildings and a Ganesh shrine. The palace was built from 1907 to 1911[2] by King Vajiravudh (Rama VI), and has a view of Phra Pathom Chedi.

Part of the site is presently a campus of Silpakorn University. On December 5, 2003 the university returned the palace and surrounding satellite buildings to the Bureau of the Royal Household following the wishes of HRH Princess Bejaratana Rajasuda Sirisobhabannavadi [1] who is the daughter of the former king.

Sanam Chandra Palace celebrated its 100-year anniversary from November 23, 2007 to December 2, 2007.













วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

โรคอ้วน



โรคอ้วน หมายถึงสภาวะร่างกายที่มีไขมันสะสมไว้ตามอวัยวะต่างๆ มากจนเกินไป

สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคอ้วน

กรรมพันธุ์ - ถ้าพ่อและแม่อ้วนทั้งคู่ลูกจะมีโอกาสอ้วนถึงร้อยละ 80 แต่ถ้าพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งที่อ้วนลูกจะมีโอกาสอ้วนถึงร้อยละ 40 แต่ไม่ควรที่จะวิตกกังวลจนเกินเหตุ ไม่ใช่ว่าคุณจะสิ้นโอกาสผอมหรือหุ่นดี

นิสัยจากการรับประทานอาหาร - คนที่มีนิสัยการรับประทานอาหารไม่ดี หรือที่เรียกกันว่า กินจุบจิบ ไม่เป็นเวลาก็ทำให้อ้วนขึ้นได้

การไม่ออกกำลังกาย - ถ้ารับประทานอาหารที่มากเกินพอดี แต่มีการออกกำลังกาย บ้างก็อาจทำให้ยืดเวลาความอ้วน แต่ถ้ารับประทานอาหารที่มากเกินพอดีแล้วนั่งๆ นอนๆ โดยไร้ซึ่งการยืดเส้นยืดสาย ในไม่ช้าก็จะเกิดการสะสมไขมันในร่างกาย

อารมณ์และจิตใจ - มีบางคนที่รับประทานอาหารตามอารมณ์และจิตใจ เช่น กินอาหารเพื่อดับความโกรธแค้น กลุ้มใจ กังวลใจ บุคคลเหล่านี้จะรู้สึกว่าอาหารทำให้ใจสงบ จึงยึดอาหารไว้เป็นสิ่งที่สร้างความสบายใจ - แต่ในทางกลับกัน บางคนที่รู้สึกเสียใจ กลุ้มใจ ก็กินอาหารไม่ได้ ถ้าในระยะเวลานานๆ ก็มีผลทำให้เกิดการขาดอาหาร ฯลฯ

ความไม่สมดุลกับความรู้สึกอิ่ม ความหิว ความอยากอาหาร - เมื่อใดที่ความอยากกินเพิ่มขึ้นเมื่อนั้นการบริโภคก็จะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถึงขั้น "กินจุ" ในที่สุดก็จะทำให้เกิดความอ้วน

เพศ - ผู้หญิงสามารถอ้วนได้ง่ายกว่าผู้ชาย เพราะโดยธรรมชาติมักสรรหาอาหารมากินได้ตลอดเวลา อีกทั้งผู้หญิงจะต้องตั้งครรภ์ทำให้น้ำหนักตัวมากขึ้น เพราะต้องกินอาหารมากขึ้น เพื่อบำรุงร่างกายและทารกในครรภ์ และหลังคลอดบุตรแล้วก็ไม่สามารถลดน้ำหนักลงให้เท่ากับเมื่อก่อนตั้งครรภ์ได้

อายุ - เมื่ออายุมากขึ้น โอกาสที่จะอ้วนก็เพิ่มขึ้น ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ซึ่งอาจเกิดจากการใช้พลังงานน้อยลง
กระบวนการทางเคมีที่เกิดกับร่างกาย

ยา - ผู้ป่วยบางโรคนั้น จะได้รับสเตียรอยด์เป็นเวลานานก็ทำให้อ้วนได้ และในผู้หญิงที่ฉีดยาหรือใช้ยาคุมกำเนิด ก็ทำให้อ้วนได้เหมือนกัน

โมนาลิซา



โมนาลิซา (อังกฤษ: Mona Lisa) หรือ ลาโชกงด์ (ฝรั่งเศส: La Gioconda, La Joconde) คือภาพวาดสีน้ำมัน สูง 77 เซนติเมตร กว้าง 53 เซนติเมตร วาดโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ระหว่าง พ.ศ. 2046 (ค.ศ. 1503) ถึงปี พ.ศ. 2050 (ค.ศ. 1507) เป็นภาพที่ทั่วโลกรู้จักกันดีภาพหนึ่ง ในฐานะสุภาพสตรีที่มี รอยยิ้มอันเป็นปริศนา ที่ไม่รู้ว่าเธอจะยิ้ม หัวเราะ หรือร้องไห้กันแน่ ปัจจุบันอยู่ในความครอบครองของรัฐบาลฝรั่งเศส และเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ (Musée du Louvre) กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

คำว่า'โมนาลิซา" นั้น ได้ถูกตั้งขึ้นโดย จอร์โจ วาซารี (Giorgio Vasari) ศิลปิน และนักชีวประวัติชาวอิตาลี หลังจากดา วินชีได้เสียชีวิตไป 31 ปี ในหนังสือที่เขาตีพิมพ์นั้นได้บอกไว้ว่าผู้ที่นั่งอยู่ในรูปนั้นคือ ลีซา เกอราร์ดีนี ภรรยาของขุนนางนักธุรกิจผู้มั่งคั่ง ชาวเมืองฟลอเรนซ์นามว่า ฟรานเชสโก เดล โจกอนโด (Francesco del Giocondo)

คำว่า โมนา" (Mona) ในภาษาอิตาลีนั้นก็คือคำว่า มาดอนนา (madonna) คุณผู้หญิง (my lady) หรือ มาดาม (Madam) ในภาษาอังกฤษ ดังนั้นความหมายของชื่อนั้นก็คือ "มาดาม ลิซา" แต่ในปัจจุบัน บางครั้งก็จะใช้คำว่า มอนนา ลิซา (Monna Lisa)

ประวัติ

ภาพโมนาลิซ่านี้ถูกวาดโดย ดา วินชี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2046 ถึง พ.ศ. 2050 ใช้เวลานานถึง 4 ปีในการวาด

ในปี ค.ศ. 1516 (พ.ศ. 2059) ดา วินชีได้นำภาพจากอิตาลีไปที่ฝรั่งเศส ด้วยพระราชประสงค์ของพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 ที่ทรงปรารถนาที่จะให้ศิลปินทั้งหลายมารวมตัวทำงานกันที่ Clos Lucé ใกล้กับปราสาทในเมืองอัมบัวส์ และยังทรงให้ ดา วินชี วาดพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์อีกด้วย หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงซื้อภาพโมนาลิซ่า ในราคา 4,000 เอกือ

ในปี ค.ศ. 1519 (พ.ศ. 2062) ดา วินชี ได้เสียชีวิตที่เมืองอัมบัวส์ ประเทศฝรั่งเศส รวมอายุได้ 63 ปี


ใบหน้าของมาดามลิซ่าตอนนที่ ดา วินชี เสียชีวิตแล้วได้ยกสมบัติและภาพวาดทั้งหมดให้เป็นมรดกของผู้ติดตามของเขา ฟรานเซสโก เมลซิ (Francesco melci) และเมื่อฟรานเซสโก เมลซิ เสียชีวิตลงก็ไม่ได้ยกมรดกให้ใคร มรดกก็เริ่มกระจัดกระจาย

และต่อมาภาพโมนาลิซ่าถูกนำไปเก็บไว้ที่ พระราชวังฟงเตนโบล ต่อมาก็ในพระราชวังแวร์ซาย หลังจากสิ้นสุดการปฏิวัติฝรั่งเศส ก็ถูกไปนำเก็บไว้ที่[พิพิธภัณฑ์ลูฟร์] ใน[ห้องสรง]ของ[นโปเลียน โบนาปาร์ต|พระเจ้านโปเลียนที่ 1] ในพระราชวังตุยเลอรี แล้วในที่สุดก็ได้กลับมาที่พิพิธภัณฑ์เหมือนเดิม

ในช่วงสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ระหว่างปี พ.ศ. 2413 - 2414 ภาพได้ถูกนำออกจากพิพิธภัณฑ์ ไปซ่อนไว้ในที่ลับในประเทศฝรั่งเศส

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) ภาพโมนาลิซ่าถูกโจรกรรมออกจากพิพิธภัณฑ์ ซึ่งกว่าจะค้นพบเธอก็ได้ใช้เวลาไปถึง 2 ปี ซึ่งได้พบในเมืองฟรอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ปัจจุบันเธอถูกดูแลรักษาอย่างดี ในตู้กระจกปรับอากาศกันกระสุน พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ อันเป็นเครื่องหมายสากลว่า โมนา ลิซา จะไม่มีวันที่จะได้เคลื่อนย้ายไปแสดงที่ไหนอีกเป็นเด็ดขาด



กล่าวกันว่าภาพวาดนี้ ดา วินซี ตั้งใจจะวาดภาพของตนเองเพื่อเป็นหญิง และภาพวาดชิ้นนี้เมื่อส่องกับกระจกเงา จะพบว่ามุมการมองภาพรู้สึกเป็นธรรมชาติไม่แตกต่างจากการมองแบบปกติ เหมือนที่ ดา วินชี กล่าวไว้ว่า "ภาพเขียนที่จิตรกรจะคิดว่าสวยงามในทุกๆด้านและทุกๆมุมมอง ต้องพิจารณาภาพภาพในกระจกเงา" และจากการฉายรังสีที่ภาพวาด ทำให้พบว่าภาพเขียนนี้ถูกซ่อนเจตนาที่แท้จริงหลายอย่าง และยังเคยถูกเขียนทับอีกด้วย