วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

หิ่งห้อย^^







การให้แสงของหิ่งห้อย
ทิ้งถ่วงมีอวัยวะทำแสงอยู่บริเวณส่วนท้องด้านล่าง เพศผู้มีอวัยวะทำแสง 2 ปล้อง เพศเมียมี 1 ปล้อง แต่บางชนิดตัวเต็มวัยเพศเมียมีรูปร่างลักษณะคล้ายหนอน มีอวัยวะทำแสงด้านข้างของลำตัว เกือบทุกปล้องแสงของทิ้งถ่วงเกิดจากปฏิกิริยาของสารลูซิเฟอริน (Luciferin) ที่อยู่ในอวัยวะทำแสงกับออกซิเจน มีเอนไซม์ลูซิเฟอเรส (Luciferase) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา และมีสารอดีโนซีนไตรฟอสเฟต (Adenosine Triphosphate,ATP) เป็นตัวให้พลังงานทำให้เกิดแสง ทิ้งถ่วงกระพริบแสงเพื่อการผสมพันธุ์และสื่อสารซึ่งกันและกัน

หิ่งห้อยชนิด "ลูซิโอลา อะควอติลิส" ที่ค้นพบโดย ดร.อัญชนา ท่านเจริญ นักกีฏวิทยาจากมหาวิทยาเกษตรศาสตร์ มีวิธีสื่อสารด้วยแสงได้ถึง 4 แบบ

หิ่งห้อยในประเทศไทย
หิ่งห้อย นับว่าเป็นแมลงที่มีคุณลักษณะพิเศษ คือสามารถบ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์และสมดุลของธรรมชาติได้ โดยเฉพาะมีคุณสมบัติที่สามารถใช้เป็น “ตัวห้ำ” ในการควบคุมศัตรูพืชตามหลักการทางชีวภาพ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่การเกษตรกรรม ซึ่งเป็นวิถีชีวิตหลักของคนไทย

หิ่งห้อยนี้ในระยะที่เป็นตัวหนอนจะกินหอยเล็กๆ เป็นอาหาร ซึ่งหอยเหล่านั้นเป็นพาหะนำโรคหลายชนิดมาสู่มนุษย์และสัตว์ เช่น โรคพยาธิใบไม้ในลำไส้โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น นอกจากนั้น หิ่งห้อย ยังเป็นตัวห้ำ ทำลายหอยเชอรี่ ซึ่งเป็นศัตรูสำคัญกัดกินทำลายต้นข้าวในระยะลงกล้าและระยะปักดำใหม่ๆ หิ่งห้อยจึงเป็นแมลงที่มีความสำคัญทั้งในด้านการแพทย์และการเกษตร

ในกรุงเทพฯนี้ ในอดีตบริเวณปากคลองบางลำพู เคยมีหิ่งห้อยเป็นจำนวนมาก แต่ก็หมดไป เมื่อวิถีชีวิตของผู้คนแถบนั้นเปลี่ยนไป เมื่อ พ.ศ. 2542 กรมศิลปากรร่วมกับกรุงเทพมหานครได้บูรณะป้อมพระสุเมรุและบริเวณจัดสร้างเป็นสวนสาธารณะสันติชัยปราการ และสร้างพระที่นั่งสันติชัยปราการ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าพักผ่อนหย่อนใจน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศล ได้มีการปลูกต้นลำพู และเลี้ยงหิ่งห้อย เพื่ออนุรักษ์และขยายพันธุ์ เป็นการฟื้นฟูวิถีชีวิตบางลำพูในอดีตด้วย

สถานที่ชมหิ่งห้อยที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน เช่น ที่ริมคลองตลาดน้ำอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เกาะลัด อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีมากในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ตุลาคม ควรเลือกชมในคืนเดือนมืด เพราะเห็นแสงของหิ่งห้อยได้อย่างชัดเจน

ตลาดกลางคืน


















สถานที่เที่ยวต่างประเทศ^^~


























•—คนแรกของโลก—•

ผู้ที่เชื่อว่าโลกกลม และเป็นผู้ค้นพบอเมริกาคนแรกเป็นชาวอะไร ค้นพบโดยวิธีใด
(ชาวอิตาลี ชื่อ โคลัมบัส เป็นนักเดินเรือ พบอเมริกาโดยเดินเรือชื่อ ซานตามาเรีย)

ผู้ที่เดินเรือรอบโลกสำเร็จเป็นคนแรก
(เฟอร์ดินันท์ แมคเจลแลนด์ ชาวโปรตุเกส)

ผู้ค้นพบหมู่เกาะฟิลิปปินส์เป็นคนแรก
(เฟอร์ดินันท์ แมคเจลแลนด์)

ผู้ค้นพบเกาะฮาวายเป็นคนแรก
(กัปตันคุก นักเดินเรือชาวอังกฤษ)

นักท่องเที่ยวชาวเวนิชคนแรกที่เดินทางไปประเทศจีน สมัยพระเจ้ากุบไลข่าน คือ
(มาร์โคโปโล)

นักเดินเรือคนแรกที่เดินทางไปถึงทวีปอเมริกา
(อเมริโกเวสปุสชี)

ผู้ที่สามารถเดินทางอ้อมแหลมกู๊ดโฮปไปถึงอินเดียสำเร็จเป็นคนแรก
(วาสโกดา กามา นักเดินเรือชาวฝรั่งเศส)

ผู้ที่สามารถเดินทางไปถึงเกาะออสเตรเลียเป็นคนแรก
(จันสซ์ นักสำรวจชาวฮอลันดา)

ผู้ที่พบมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นคนแรก
(บัลบัว นักสำรวจชาวสเปน)

ผู้ที่พบเม็กซิโกเป็นคนแรก
(เฮอร์แมน โคเคอเตส ชาวสเปน)

ผู้ที่พบฟลอริดาเป็นคยแรก
(ลีออน ชาวฝรั่งเศส ในปี พ.ศ.2064)

ผู้ที่พบคองโกเป็นคนแรก
(เฮนลีย์ แสตนเล่ย์ ชาวอังกฤษ)

ผู้ที่พบอียิปต์เป็นคนแรก
(เจมส์ บรู๊ค ชาวอังกฤษ)

ผู้ที่ค้นพบขั้วโลกเหนือของแม่เหล็กอยู่ทางตอนเหนือของแคนนาดา
(เจมส์ คล้าก รอสส์ ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ.2374)

ผู้ที่ค้นพบขั้วโลกใต้ของแม่เหล็กอยู่ทางตอนใต้ของ South Victoria
(ดักลาส มอสัน ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2452)

ผู้ที่สำรวจขั้วโลกใต้สำเร็จเป็นคนแรก
(โรลด์ อิมุนเสน ชาวนอรเวย์)

ผู้ประดิษฐ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นคยแรก
(ไมเคิล ฟาราเดย์ ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ.2374)

ผู้ประดิษฐ์รถแทร็กเตอร์เป็นคนแรก
(เบนจามิน ฮอลด์ ชาวอเมริกา ในปี พ.ศ.2443)

01.gif">ผู้ประดิษฐ์แบตเตอรี่เป็นคนแรก
(อเล็กซานโดร โวลตา ชาวอิตาลี ในปี พ.ศ.2342)

ผู้ประดิษฐ์สไลด์รูลเป็นคนแรก
(ออเทรด ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ.2163)

ผู้ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำเป็นคนแรก
(เจมส์ วัตต์ ชาวสก็อต ในปี พ.ศ.2312)

ผู้ประดิษฐ์เครื่องยนต์ไฟฟ้าเป็นคนแรก
(ออตโต ฟอน กูริค ชาวเยอรมัน ในปี พ.ศ.2180)

gif">ผู้ประดิษฐ์เครื่องกิโยตินเป็นคนแรก
(อังตวนหลุย ชาวฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2335)

ผู้ประดิษฐ์ตะเกียงเจ้าพายุเป็นคนแรก
(เชอร์ ฮัมฟรี เดวีย์ ชาวอังกฤษ)

ผู้ที่ใช้ปรอททำเทอร์โมมิเตอร์เป็นคนแรก
(กาเบรียล ดาเนียล ฟาเรนไฮต์ ชาวเยอรมัน)

ผู้ประดิษฐ์กล้องโทรทัศน์เป็นคนแรก
(กาลิเลโอ ชาวอิตาลี)

ผู้ประดิษฐ์เครื่องยนต์ใช้น้ำมันแก๊สโซลีนเป็นคนแรก
(เดมเลอร์)

ผู้ประดิษฐ์ไฟฟ้า เครื่องบันทึกเสียง จานเสียง เป็นคนแรก
(โทมัส อัลวา เอดิสัน ชาวอเมริกา)

ผู้ประดิษฐ์กลจักรรถไฟเป็นคนแรก
(ยอร์จ สตีเฟนสัน ชาวอังกฤษ)

ผู้ประดิษฐ์ลูกบอลลูนเป็นคนแรก
(โยเซฟ และเอเตียน มองต์โกลฟิเอร์ ชาวฝรั่งเศส ในปี พ.ศ.2326)

ผู้ประดิษฐ์เครื่องบินไอพ่นเป็นคนแรก
(แฟรงค์ วิตเติล ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2480)

ผู้ประดิษฐ์เครื่องบินเป็นคนแรก
(สองพี่น้องตระกูลไรท์ คือ วิลเบอร์ ไรท์ และออร์วิล ไรท์ ชาวอเมริกัน ในปี พ.ศ.2446)

ผู้ประดิษฐ์เฮลิคอปเตอร์ และเครื่องบินสี่เครื่องยนต์เป็นคนแรก
(อิกอร์ อิวาน โนวิซซี คอร์สกี้ ชาวรัสเซีย ในปี พ.ศ.2482)

ผู้ประดิษฐ์เครื่องกลไฟเป็รคนแรก
(โรเบิร์ต ฟุลสตัน ชาวอเมริกัน ในปี พ.ศ.2350)

ผู้ประดิษฐ์เครื่องส่งโทรเลขเป็นคนแรก
( แซมมวล มอร์ส ชาวอเมริกัน ในปี พ.ศ.2387)

ผู้ประดิษฐ์เครื่องโทรศัพท์เป็นคนแรก
(อเล็กซานเดอร์ เกรแฮมเบลล์ ชาวสก๊อต ในปี พ.ศ.2418)

ผู้ประดิษฐ์วิทยุเป็นคนแรก
(มาร์โคนี ชาวอิตาลี ในปี พ.ศ.2422)

ผู้พบไฟฟ้าในอากาศ และประดิษฐ์สายล่อฟ้า เป็นคนแรก
(เบนจามิน แฟรงคลิน ชาวอเมริกัน ในปี พ.ศ.2295)

ผู้ประดิษฐ์นาฬิกาเดินเรือเป็นคนแรก
(ทอร์รา เชลลี ชาวอิตาลี ในปี พ.ศ.2151-2190)

ผู้ประดิษฐ์เข็มทิศเป็นคนแรก
(จอห์น แฮริสัน ชาวอังกฤษ)

ผู้ประดิษฐ์แท่นพิมพ์สำเร็จเป็นคนแรก
(วิลเลียม แคกซ์ตัน ชาวอังกฤษ)

ผู้ประดิษฐ์บารอมิเตอร์เป็นคนแรก
(วิลเลียม ทอมสันเคลวิน ชาวอังกฤษ)

ผู้ประดิษฐ์เลนส์พิเศษสำหรับภาพยนตร์จอกว้างแบบซิเนมาสโคปคือ
(อังรี เครเตียน ชาวฝรั่งเศส)

ผู้ประดิษฐ์กล้องและฟิล์มถ่ายรูปสำเร็จเป็นคนแรก
(โทมัส เวดจ์วู๊ด ชาวอังกฤษ)

ชาติใดประดิษฐ์ตัวอักษรเป็นชาติแรกของโลก
(อียิปต์)

ผู้ประดิษฐ์เครื่องวัดเวอร์เนียร์คือ
(ปีแอร์ เวอร์เนียร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส)

ผู้ประดิษฐ์ตะเกียงบุนเสนคือ
(โรเบิร์ต วิลเฮล์ม บุนเสน ชาวเยอรมัน)
ผู้ประดิษฐ์นาฬิกาแดดเป็นคนแรก

(อแน็ค ซิเมเดอร์ นักปรัชญาชาวกรีก)

ผู้ประดิษฐ์ฝนเทียมสำเร็จเป็นคนแรก
(เออร์วิง แลงมัว ชาวอเมริกัน)

ผู้ประดิษฐ์กล้องโกดักเป็นคนแรก
(ยอร์จ อีสต์แมน ชาวอเมริกา)

ผู้ให้กำเนิดการวัดด้วยหลาคือ
(พระเจ้าเฮนรี่ที่ 1 แห่งอังกฤษ)

ผู้ให้กำเนิดการวัดด้วยฟุตคือ
(พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส)

ผู้ประดิษฐ์ปากกาสำหรับเขียนหนังสือคือ
(แฮริสัน ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ.2323)

ผู้ประดิษฐ์นาฬิกาไขลานคือ
(เฮอร์ลิบ ชาวเยอรมัน ในปี พ.ศ.2020)

ผู้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ดีดคือ
(คูเตนเบิร์ก ชาวเยอรมัน ในปี พ.ศ.2000)

ผู้ประดิษฐ์เรือเหาะเป็นคนแรก
(กิฟฟาร์ด ชาวฝรั่งเศส)

ผู้ประดิษฐ์เครื่องดับเพลิงเป็นคนแรก
(โจเซฟ บรามาส์ ชาวอังกฤษ)

ผู้ประดิษฐ์เหล็กกล้าจากเหล็กหล่อเป็นคนแรก
(เฮนรี่ เบสเซมเบอร์ ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ.2399)

ผู้ประดิษฐ์เตารีดไฟฟ้าเป็นคนแรก
(โรเบิร์ต แฮร์ ชาวอเมริกัน ในปี พ.ศ.2324)

ผู้ประดิษฐ์กระติกน้ำร้อน และกระติกน้ำแข็งเป็นคนแรก
(เดวาร์ ชาวสก็อต)

ผู้ที่รู้จักคานงัด คานดีด เขากล่าวว่า "ถ้าข้าพเจ้าสามารถออกไปยืนนอกโลกได้ เขาสามารถใช้คานงัดโลก เขาสามารถใช้คานงัดโลกให้ กระเด็นได้" คือ
(อาร์คี เมดิส)

ผู้ประดิษฐ์ชวเลขแบบเกร๊กก์เป็นคนแรก
(จอห์น โรเบิร์ต เกร๊กก์ ชาวอังกฤษ)

ผู้ที่พบกฎของความต้านทานไฟฟ้า วึ่งตั้งชื่อว่ากฎของโอห์มคือ
(ยอร์จ ซิมมอล โอห์ม นักฟิสิกส์ ชาวเยอรมัน)

ผู้ที่พบว่าราที่ชื่อว่าเพ็นนิซิเลียม สามารถนำมาทำเป็นยาเพนนิซิลิน สำหรับแก้หนองได้
(อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง)

ผู้ที่พบวิธีป้องกันและรักษาโรคอหิวาตกโรคไข้เหลืองกามโรค โรคกลัวน้ำและการฉ๊ดวัคซีนเป็นคนแรก
(หลุยส์ ปาสเตอร์ ชาวฝรั่งเศส)

ผู้ที่พิสูจน์ว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งในการฆ่าเชื้อโรคก่อนทำการผ่าตัด
(โยเซฟ ลิสเตอร์ ชาวอังกฤษ)

ผู้ที่พบวงจรโลหิตเป็นคนแรกในโลก
(วิลเลียม ฮาร์วี นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ)

ผู้ที่พบกฎการดึงดูดของโลก
(เซอร์ ไอ แซคนิวตัน)

หน่วยวัดกระแสไฟฟ้า ตั้งตามชื่อของ
(อังเดรมารีแอมแปร์ ชาวฝรั่งเศส)

นักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่เชื้อชาติเยอรมัน ผู้ตั้งทฤษฎีสัมพันธภาพคือ
(อัลเบิร์ต ไอน์สไตลน์)

ผู้คิดวิชาเรขาคณิตขึ้นเป็นชาติแรก
(ยุคลิด นักคำนวณ ชาวกรีก)

ผู้ได้ชื่อว่า เป็นผู้ริเริ่มการพยาบาลแผนใหม่คือ
(ฟลอเรนซ์ ไนติงเกิล สตรีชาวอังกฤษ)

ผู้คิดและประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ยางเป็นคนแรกคือ
(ชาร์ลส์ กู๊ดเยียร์ ชาวอเมริกัน)

ผู้ประดิษฐ์จรวดเป็นคนแรก
(ดร. โรเบิร์ต ฮัทชิงส์ นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน)

ผู้ที่ค้นพบกระแสแม่เหล็กไฟฟ้าคนแรกของโลก
(ไฮน์ริช เฮอร์ท นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน)

ผู้ที่ค้นพบแสงเอ๊กซเรย์เป็นคนแรก
(วิลเฮล์ม เรินก์เก็น ชาวเยอรมัน)

ผู้ที่ค้นพบวิธีปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษเป็นคนแรก
(เอดเวิร์ด เจนเนอร์ ชาวอังกฤษ)

ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น บิดาของทฤษฎีปรมาณูคือ
(เดวิด บอห์ นักวิทยาศาสตร์ชาวเดนมาร์ก)

ผู้ประดิษฐ์ภาพยนตร์เป็นคนแรก
(วิลเลี่ยม ฟรีสกรีน ชาวอเมริกัน)

ผู้ให้กำเนิดวิชาทำแผนที่เป็นคนแรกคือ
(อแน็ค ซิมิเตอร์ นักปรัชญาชาวกรีก)

ผู้ให้กำเนิดวิชาเรขาคณิตเป็นคนแรกของโลก
(ปีทากอรัส ชาวกรีก)

ผู้ประดิษฐ์ยางดันล็อป
(ดันล็อป ชาวอังกฤษ)

ผู้ค้นพบออกซิเจนเป็นคนแรก
(โจเซฟ เพรสเล่ย์ ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2317)

ผู้ค้นพบไนโตรเจนเป็นคนแรก
(ดาเนียล รัทเธอร์ฟอร์ด ชาวสก๊อต ในปี พ.ศ.2315)

ผู้ค้นพบฮีเลียมเป็นคนแรก
(เชอร์วิลเลี่ยม แรมเชย์ ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ.2438)

>ผู้ค้นพบโซเดียมเป็นคนแรก
(ดูฮัมเมล เดอมอลซิน ชาวฝรั่งเศส ในปี พ.ศ.2309)

ผู้ค้นพบธาตุเรเดียมเป็นคนแรก
(ปีแอร์ และมาดามคูรี ชาวโปแลนด์ ในปี พ.ศ.2441)

ผู้ค้นพบโปตัสเซียมเป็นคนแรก
(เซอร์ฮัมฟรีเดวีย์ ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ.2350)

ผู้ค้นพบธาตุแคลเซียมเป็นคนแรก
(เซอร์ฮัมฟรีเดวีย์ ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ.2351)

ผู้ค้นพบธาตุแบเรียมเป็นคนแรก
(เซอร์ฮัมฟรีเดวีย์ ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ.2351)

ผู้ค้นพบแมงกานีสเป็นคนแรก
(โยฮันน์ กัม ชาวสวีเดน ในปี พ.ศ.2317)

ผู้ค้นพบนิเกิลเป็นคนแรก
(เซอร์ วิลเลี่ยม ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ.2441)

ผู้ค้นพบธาตุยูเรเนียมเป็นคนแรก
(มาร์ติน แครมพร็อธ ชาวเยอรมัน ในปี พ.ศ.2332)

ผู้ค้นพบธาตุอาร์กอนเป็นคนแรก
(ลอร์ดราเลย์ และเซอร์วิลเลี่ยม แลมเชย์ ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2437)


ผู้ค้นพบคลอรีนเป็นคนแรก
(คาร์ลสคีล ชาวสวีเดน ในปี พ.ศ.2317)

ผู้ค้นพบไฮโดรเจนเป็นคนแรก
(เฮนรี คาเวนดีช ชาวอังกฤษ ในปีพ.ศ.2309)

ผู้ค้นพบแมกนีเซียมเป็นคนแรก
(โจเซฟ แบล็ค ชาวสก๊อต ในปี พ.ศ. 2298)

ผู้ที่ไต่ถึงยอดเขาเอเวอร์เรสต์สำเร็จเป็นคนแรก
(พ.อ.จอห์นฮันต์ นักสำรวจชาวอังกฤษ)

ผู้ที่ได้รับสมญานามว่า "ราชาหนังสือพิมพ์" เป็นคนแรก
(ลอร์ด นอธคลิฟ ชาวอังกฤษ)

ผู้ให้กำเนิดกีฬาโอลิมปิคคือ
(บารอน ปีแอร์ เดอคู แปร์แดง จัดครั้งแรกที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีก)

ผู้ที่ให้กำเนิดไปรษณีย์เป็นคนแรก
(พระเจ้าไซรัสมหาราช แห่งเปอร์เซีย)

ผู้ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นราชาการ์ตูน
(วอลเทอร์ ดิสนีย์ ชาวอเมริกัน)

สตรีคนแรกที่ได้รับเลือกเป็นประธานสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ
(นางวิชัยลักษณมี บัณฑิตแห่งอินเดีย)

ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ให้กำเนิดดาราศาสตร์สมัยใหม่คือ
(กาลิเลโอ ชาวอิตาลี)

วีรสตรีชาวฝรั่งเศสผู้นำทัพรบชนะทหารอังกฤษ ที่ล้อมเมืองออร์ลีน จนได้รับสมญานามว่าเป็นแม่มดแห่งออร์ลีนคือ
(โจน ออฟ อาร์ค)

ผู้ริเริ่มการลูกเสือเป็นคนแรกคือ
(ลอร์ด เบเดนเพาเวลล์ ชาวอังกฤษ)

ผู้อำนวยการขุดคลองสุเอชจนสำเร็จคือ
(เฟอร์ดินันน์ เดอเลสเซฟ วิศวกร ชาวฝรั่เศส)

วิศวกรขุดคลองปานามาจนสำเร็จคือ
(โกเธลล์ วิศวกรชาวอเมริกัน)

ผู้ที่ค้นพบส่วนประกอบของอากาศและการเผาไหม้เป็นคนแรกคือ
(ลาวัวซิเอย์ เบรลล์ ชาวฝรั่งเศส)

ผู้ปรับปรุงและคิดวิธีอ่านเขียนหนังสือของคนตาบอดคือ
(หลุยส์ เบรลล์ ชาวฝรั่งเศส)

ผู้ที่ได้ชื่อว่าราชาไข่มุกของโลกคือ
(มิกิโตโกะ ชาวญี่ปุ่น)

ผู้ที่จัดตั้งรางวัลโนเบลคือ
(อัลเฟรดเบอนาร์ด โนเบล นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดน)

Y2K

มาใช้งานเพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการทำงานในทุกๆด้านของโลกปัจจุบันทั้งงานของรัฐบาลบริษัทเอกชน องค์กรต่างๆ ทั่วโลก หน่วยงานต่างๆเหล่านี้กำลังเผชิญกับปัญหาจากระบบคอมพิวเตอร์ อันสืบเนื่องมาจากการมาถึงของปี ค.ศ. 2000 หรือที่ เรียกกันว่า " ปัญหาY2K " หรือ " ปัญหา MilleniumBug "ซึ่งทุกวินาที่ที่ผ่านไปในปี ค.ศ.1999นี้ล้วนมีความ หมายต่อความอยู่รอดของทุกองค์กรเป็นปัญหาทางธุรกิจและอุสาหกรรมจึงมีสื่อหลายแขนงที่ คอยให้ข้อมูลในการแก้ปัญหาY2Kสำหรับภาคอุตสาหกรรมซึ่งสำคัญมาในแต่ละประเทศก็ได้รับ ความสนใจไม่น้อยเพราะปัจจุบันเทคโนโลยีทางไมโครโพรเซสเซอร์(Microprosseser) ได้เข้าไป อยู่ในทุกโรงงานอาทิเช่น ในอุปกรณ์ควบคุมอย่าง PLC และระบบอัตโนมัติทั้งหลาย ,ระบบรักษา ความปลอดภัย ,ระบบควบคุมลิฟต์ ,ระบบควบคุมคลังสินค้า ,ระบบป้องกันเพลิงไหม้ และระบบ อิเล็กทรอนิกส์ และอื่นๆอีกมากที่ต้องได้มีการประเมินและสำรวจ ปัญหาY2K จึงน่าเป็นห่วงมากถ้าขาดความสนใจจากผู้ดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมเพราะความเสียหายที่ จะเกิดขึ้นหลังเที่ยงคืนวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ.1999 อาจร้ายแรงเกินกว่าจะรับมือได้ ซึ่งปัญหาดังกล่าวอาจ กล่าวได้ว่าเปรียบเสมือนระเบิดเวลาที่ตั้งไว้ตั้งแต่มีระบบคอมพิวเตอร์เกิดขึ้น บทความนี้จึงต้องการให้ ผู้ดำเนินธุรกิจและองค์กรต่างๆเริ่มต้นแก้ปัญหาได้ถูกต้องและรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าปัญหา Y2K แสดง ผลในปี ค.ศ. 2000
ย้อนหลังไปเมื่อคอมพิวเตอร์ได้รับการออกแบบขึ้นนั้น การเขียนโปรแกรม หรือsoftware จะมีการเก็บข้อมูลเวลาในรูปแบบ DD/MM/YY โดยที่ YY แทนปี ค.ศ. 19YY เช่น 84 แทนปี ค.ศ. 1984 เพื่อประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งอาจมองว่าประหยัดแค่ 2 หลัก แต่หากมองเป็นระบบใหญ่ๆ ก็จะประหยัดได้มากเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทำงาน เนื่องจากในสมัยนั้นราคาของอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งหลายมีราคาสูงกว่าปัจจุบันมาก ผลที่กำลังจะเกิดขึ้นจากเหตุผลดังกล่าวของการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบเลขปี 2 ตำแหน่งนี้เกิดความสับสน และไม่รู้ของระบบหรือแอพพลิเคชั่นโปรแกรมที่ต้องใช้วันที่ในการคำนวณ เปรียบเทียบ จัดเรียงลำดับเมื่อการก้าวข้ามของเวลาจาก 1999 ไปสู่ 2000 แต่ระบบจะรับรู้ในรูปเลข 2 หลักคือ 99 ไปสู่ 00 โดย 00 นี้ระบบไม่รู้ว่าเป็นปี 2000 ตรงนี้เองทำให้เกิดผลลัพธ์ในการทำงานที่ผิดพลาดได้
ปัญหาเทคนิคง่าย ๆ ดังกล่าวนั้นแทรกตัวอยู่อย่างซับซ้อนในการทำงานต่างๆ ที่มีเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงไม่ใช่เรื่องง่ายในการประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงแผนในการรับมือต่างๆ ซึ่งตัวอย่างของเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายชี้ว่ามีโอกาสสูงที่จะมีปัญหาการทำงานเมื่อถึงปี ค.ศ. 2000 เช่น
1. แหล่งผลิตภัณฑ์งานต่าง ๆ เช่น โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า , โรงงานกลั่นน้ำมัน ซึ่งที่สวีเดนมีข่าวว่าได้ประกาศจะปิดโรงงานผลิตไฟฟ้าปรมาณู ชั่วคราวระหว่างปลายปี ค.ศ. 1999 ถึงต้นปี ค.ศ. 2000 เพราะได้จำลองสถานการณ์ปี ค.ศ.2000 แล้วพบว่าระบบการส่งน้ำซึ่งเป็นระบบที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเตาปรมาณู จนมีปัญหา Y2K แล้วถ้าไม่แน่ใจว่าจะแก้ได้เต็มที่ก็ควรจะเปิดเตาดังกล่าวแล้ว
2. ระบบสื่อสารและโทรคมนาคม ได้แก่ ระบบสื่อสารทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบสื่อสารข้อมูลผ่านเคเบิ้ลใต้น้ำ ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม รวมทั้งระบบอินเตอร์เน็ต
3. ระบบคมนาคม ได้แก่ ระบบควบคุมการเดินเรือ , ระบบควบคุมทางจราจรทางอากาศ , ระบบควบคุมสัญญาณไฟจราจร รวมไปถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งเพื่อโปรแกรมการทำงานในยานพาหนะต่าง ๆ ทั้งในรถยนต์ เครื่องบิน เรือเดินทะเล
4. ระบบการสาธารณสุข ได้แก่ อุปกรณ์การแพทย์ต่าง ๆ , เครื่องฉายรังสี , เครื่องผลิตไฟฟ้าฉุกเฉินในโรงพยาบาล , อุปกรณ์และระบบในการผลิตยา
5. ระบบการเงินทางธนาคาร ได้แก่ ระบบบัญชีต่าง ๆ , ตู้ ATM
6. ระบบการประปาและระบบระบายน้ำทิ้ง มีระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมระบบระบายน้ำรวมไปถึงเครื่องมือวิเคราะห์น้ำ
7. ระบบการผลิตจัดเก็บและการจำหน่าย ได้แก่ โรงงาน , ร้านค้า , ซูเปอร์มาร์เก็ตยุคใหม่ที่มีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมการผลิต ,ควบคุมรายการวัสดุและสินค้าในสต๊อก ,การชำระเงินด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
8. ระบบควบคุมอาคาร ได้แก่ ระบบลิฟต์ , ระบบไฟฟ้า , ระบบควบคุมกระแสไฟฟ้า , ระบบปรับอากาศ , ระบบเตือนภัย และรักษาความปลอดภัยต่าง ๆ ทั้งระบบป้องกันอัคคีภัย , ระบบสัญญาณกันขโมย
9. ระบบการทำงานในโรงงาน ทั้งระบบการผลิต การจัดเก็บวัสดุสินค้า , ระบบควบคุมอาคาร รวมถึงระบบและอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องมือ เครื่องจักร หรือโรงงานที่เรียกกันว่าระบบแบบฝังตัว (Embedded System)

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

รู้เรื่องในหลวงของเรา



• วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๗๐ ตรงกับวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีเถาะ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช พระราชโอรสพระองค์เล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ และหม่อมสังวาลย์ ประสูติ ณ โรงพยาบาลเมานท์ออเบร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสสาซูเสตต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เหตุที่ประสูติที่อเมริกา เพราะขณะนั้น พระบรมราชชนก เสด็จทรงศึกษาและปฏิบัติหน้าที่ราชการในต่างประเทศ ทรงมีพระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล

• พระนาม “ ภูมิพลอดุลยเดช ” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานมาจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ มีความหมายว่า “ ผู้ทรงกำลังอำนาจไม่มีอะไรเทียบในแผ่นดิน ”


• หลังจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงประกาศสละราชสมบัติเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๔๗๗ รัฐบาลไทยในขณะนั้นได้กราบทูลเชิญพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ซึ่งเป็นพระบรมเชษฐาธิราช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๘ แห่งราชจักรีวงศ์ จากนั้นในวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๗๘ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช ทรงได้รับเฉลิมพระนามเป็น “ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ” ในครั้งนั้นทั้งสองพระองค์ยังประทับอยู่ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์


• ในปี ๒๔๘๐ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช สายพระเนตรสั้นลง เป็นเหตุให้ต้องทรงฉลองพระเนตรนับตั้งแต่นั้นมา

• ในปี ๒๔๘๘ หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลง รัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ซึ่งขณะนั้นทรงพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา เสด็จกลับมาประทับเป็นมิ่งขวัญของประชาชนชาวไทย ในการเสด็จนิวัตสู่ประเทศไทยครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในฐานะพระเจ้าน้องยาเธอฯ ได้เสด็จกลับมาด้วย โดยได้เสด็จถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๘๘ อันตรงกับวันพระราชสมภพ ขณะมีพระชนมายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์


• ใน วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ ประชาชนชาวไทยต้องประสบกับความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง เมื่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต อย่างกระทันหันด้วยพระแสงปืน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง และในวันเดียวกันนี้เอง พระบรมวงศานุวงศ์และคณะรัฐมนตรีก็ได้กราบบังคมทูล อัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็น พระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๙ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ และได้มีการประกาศเฉลิมพระนามว่า “ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ” แต่เนื่องจากในขณะนั้นทรงมีพระชนมายุเพียง ๑๙ พรรษา ยังไม่สามารถบริหารราชการแผ่นดินด้วยพระองค์เองได้ อีกทั้งยังมีพระราชภารกิจเรื่องการศึกษา จึงได้มีการแต่งตั้งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร และพระยามานวรราชเสวี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์


• วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๔๘๙ ได้เสด็จกลับไปศึกษาต่อที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์พร้อมสมเด็จพระราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธออีกครั้ง โดยก่อนจากประเทศไทยในครั้งนั้น ได้ทรงเสด็จไปถวายบังคมลาพระบรมศพพระบรมเชษฐาธิราชที่พระบรมมหาราชวัง ขณะที่ประทับรถยนต์พระที่นั่งไปยังสนามบินดอนเมือง ได้มีประชาชนคนหนึ่งตะโกนว่า “ อย่าละทิ้งประชาชน ” ซึ่งพระองค์ก็ได้ทรงมีพระราชนิพนธ์เรื่อง “ เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิตเซอร์แลนด์ ” ว่าทรงอยากจะร้องบอกเขาลงไปว่า “ ถ้าประชาชนไม่ “ ทิ้ง ” ข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะ “ ละทิ้ง ” อย่างไรได้ แต่รถวิ่งเร็วและเลยไปไกลเสียแล้ว ..”



• เมื่อเสด็จกลับไปยังประเทศสวิสเซอร์แลนด์เพื่อศึกษาต่อ ก็ได้ทรงเปลี่ยนจากสาขาวิทยาศาสตร์ มาทรงศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ และนิติศาสตร์ เพื่อเตรียมพระองค์ในการเป็นพระประมุขของประเทศ



• ในปี ๒๔๙๓ เมื่อเสด็จนิวัตกลับประเทศไทยแล้ว ได้ทรงกำหนดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลตั้งแต่วันที่ ๑๘ มีนาคม จนถึงวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๔๙๓ อันเป็นวันถวายพระเพลิงพระบรมศพ



• หลังจากนั้นใน วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯก็ได้ทรงจัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ซึ่งพระราชพิธีราชาภิเษกครั้งนี้ นับเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกสำหรับพระมหากษัตริย์ไทยในยุคประชาธิปไตย ที่ได้ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่นเดียวกับปวงชนชาวไทย



• ในวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ ได้ทรงจัด พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นพระมหากษัตริย์ปกครองแผ่นดินอย่างสมบูรณ์ โดยมีพระปรมาภิไธยว่า “ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ” ซึ่งในครั้งนั้นได้ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการว่า “ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ” พร้อมกันนี้ได้ทรงสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ พระอัครมเหสี ขึ้นเป็น “ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ”


• ในวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงผนวช ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง โดยมีสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช (หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงเป็นพระราชอุปชฌาย์ และสมเด็จพระสังฆราชได้ถวายพระสมณฉายานามว่า “ ภูมิพโล ภิกขุ ” ทรงประทับจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงดำรงอยู่ในเพศบรรพชิตอยู่ ๑๕ วันจึงลาผนวชเมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ในระหว่างทรงผนวช ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีเป็นผู้สำเร็จราชการทรงปฏิบัติราชการแผ่นดินแทนพระองค์ ซึ่งทรงปฏิบัติราชกรณียกิจในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้อย่างเรียบร้อยเป็นที่พอพระราชหฤทัย จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี นาถ ในปีเดียวกันนี้เอง


• ในปี ๒๕๐๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้ เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการครั้งแรกในรัชกาล โดยเริ่มจากประเทศสาธารณรัฐเวียดนาม อินโดนีเซีย และสหภาพพม่า และในปี ๒๕๐๓ ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศในทวีปยุโรป รวม ๑๔ ประเทศ ตั้งแต่วันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๐๓-วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๐๔ ซึ่งในการเสด็จฯเยือนต่างประเทศครั้งนั้น นอกจากจะช่วยกระชับความสัมพันธ์กับมิตรประเทศแล้ว ทั้งสองพระองค์ยังได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจจนบังเกิดผลสำเร็จ นำผลประโยชน์มาสู่ประเทศชาติและประชาชนชาวไทยมากมาย ทรงเป็นที่กล่าวขานถึงพระบารมีเลืองลือขจรไกล


• ในปี ๒๕๐๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมายุเสมอด้วยสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก จึงทรงโปรดเกล้าฯให้มีพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลในวโรกาสมหามงคลข้างต้นตามโบราณราชประเพณี ที่นิยมเฉลิมฉลองวโรกาสที่พระเจ้าอยู่หัวฯทรงเจริญพระชนมายุเสมอด้วยสมเด็จพระบรมราชบุรพการี


• ในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๑๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงกระทำ “ พระราชพิธีรัชดาภิเษก ” อันเป็นพิธีเฉลิม ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปี และในปี ๒๕๒๐ คณะบุคคลอันประกอบด้วยประชาชนทุกสาขาอาชีพ ได้พร้อมกันแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ด้วยการน้อมเกล้าฯถวายพระราชสมัญญา “ มหาราช ” พร้อมจัดงานถวายพระพรและเฉลิมพระเกียรติในวันเฉลิมพระชนมพรรษา โดยใช้ชื่อว่า “ ๕ ธันวามหาราช ” ต่อมาเพื่อความพร้อมเพรียงในหมู่พสกนิกรชาวไทยในอันที่จะถวายพระราชสมัญญา “ มหาราช ” จึงได้มีการสำรวจประชามติทั่วประเทศ ปรากฎว่าประชาชนมีความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีขณะนั้น จึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ถวายพระราชสมัญญา “ มหาราช ” เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐


• วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญา “ อัครศิลปิน ” แด่พระองค์ ด้วยทรงเป็นเลิศในศิลปะหลายสาขา อาทิ ดุริยางคศิลป์ ทัศนศิลป์ และนฤมิตศิลป์ เป็นต้น คำว่า “ อัครศิลปิน ” หมายถึง ผู้มีศิลปะอันเลอเลิศ หรือผู้เป็นใหญ่ในศิลปินก็ได้ เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นอกจากจะทรงเป็นเลิศในศิลปะทั้งปวงแล้ว ยังทรงมีคุณูปการได้ทรงอุปถัมภ์แก่ศิลปินทั้งหลายด้วย

• วันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๓๑ ได้มีการจัด “ ราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ” อันเป็นพระราชพิธีเฉลิมฉลองเนื่องใน อภิลักษขิตสมัยที่ทรงครองราชสมบัติยาวนานกว่าสมเด็จพระมหากษัตราธิราชเจ้าแห่งราชอาณาจักรไทยทุกพระองค์ในอดีต ซึ่งเป็นมหามงคลวโรกาสที่หาได้ยากยิ่ง คือ ทรงครองราชย์สมบัติเป็นเวลา ๔๒ ปี ๒๒ วัน ซึ่งเป็นเวลาจำนวนปีและวันเท่ากับสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระอัยยิกาธิราช


• วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๓๙ เป็นวันที่ ทรงครองราชย์สมบัติครบ ๕๐ ปี รัฐบาลได้จัดงานเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่เพื่อถวายเป็นราชสักการะและถวายพระพรชัยมงคล พระองค์ได้โปรดเกล้าฯพระราชทานชื่องานว่า “ พระราชพิธีกาญจนาภิเษก ” นับเป็นมหามงคลสมัยพิเศษอีกวาระหนึ่งที่ไม่เคยมีปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ไทย


• วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ได้มีงาน “ พระราชพิธีสมมงคล พระชนมายุ ๗๓พรรษา เท่ากับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ” ( สมมงคล อ่านว่า สะ-มะ-มง-คล)คือวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระชนมายุได้ ๒๖,๔๖๙ วัน เท่ากับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑


• วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙ ปีนี้ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ได้ทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่องานว่า “ พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ” ซึ่งหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งพสกนิกรชาวไทยต่างร่วมใจกันจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อถวายเป็นราชสักการะ และร่วมเฉลิมฉลองวโรกาสมหามงคลครั้งนี้ทั่วประเทศ ที่สำคัญคือจะมีประมุขและพระบรมวงศานุวงศ์จากมิตรประเทศมาร่วมถวายพระพรด้วย

• และใน วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ จะทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษา ซึ่งได้โปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อมาแล้วว่า “ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ”ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น คือเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช “ ในหลวง ผู้เป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย ” ซึ่งตลอดระยะเวลาแห่งการครองราชย์ นับตั้งแต่วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ตราบจนปัจจุบัน เป็นเวลา ๖๐ ปีเต็ม จนกล่าวได้ว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก ได้ทรงอุทิศพระวรกาย พระราชหฤทัย และพระสติปัญญาบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ทั้งปวงเพื่ออาณาประชาราษฎร์ของพระองค์อย่างมากมายมหาศาลตลอดมา จนยากยิ่งที่จะหาพระมหากษัตริย์พระองค์ใด หรือประมุขของประเทศใดในโลกมาเทียบเคียงได้ ดังนั้น ในโอกาสมหามงคลสมัยนี้ จึงขอเชิญชวนพี่น้องชาวไทยทั้งในและนอกประเทศได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ด้วยการตั้งใจ “ ทำความดี ” และ “ รู้รักสามัคคี ” ถวายเป็นพระราชสักการะ ให้สมกับที่พวกเราได้มีบุญเกิดบนผืนแผ่นดินไทย ที่มี “ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ” เป็นพระประมุขของชาติ