วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วันอาสาฬหบูชา

อาสาฬหบูชา
ประวัติความเป็นมา
วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ก่อนวันเข้าพรรษา 1 วัน เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนแสดงความเคารพต่อพระสงฆ์
อาสาฬหเป็นชื่อเดือน ๘ อาสาฬหบูชาย่อมาจากคำว่าอาสาฬหบูรณ มีบูชา แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน ๘ ถ้าปีใดมีเดือน ๘ สองครั้ง ก็จะ เลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ หลัง

หลังจาก สมเด็จพระพุทธองค์ ได้ตรัสรู้ในวันเพ็ญ เดือน 6 แล้ว ได้ทรงใช้เวลาทบทวนสัจธรรมและทรงคำนึงว่าธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้นี้ลึกซึ้งมาก ยากที่ผู้อื่นจะรู้ตาม แต่อาศัยพระกรุณานี้เป็นที่ตั้ง จึงทรงพิจารณาแบ่งบุคคลออกเป็น 4 ประเภท(บัว 4 เหล่า) คือ
๑. อุคฆฏิตัญญู ดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ
๒. วิปัจจิตัญญู ดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำ
๓. เนยยะ ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ
๔. ปทปรมะ ดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม

จึงทรงมีพระกรุณาธิคุณ ระลึกอาฬารดาบสและอุททกดาบสว่า มีกิเลสเบาบางสามารถตรัสรู้ได้ทันที แต่ท่านทั้ง 2 ได้ตายแล้ว จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ ได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสชิ ซึ่งล้วนแล้วแต่ เป็นผู้อุปฐากพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งยังทรงบำเพ็ญทุกข์กิริยาอยู่ พระธรรมที่ พระพุทธองค์ทรงเทศนาในครั้งนี้มี ชื่อ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร ซึ่งมี อริยสัจ ๔ หรือความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการได้แก่
๑. ทุกข์ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
๒. สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์
๓. นิโรธ ความดับทุกข์
๔. มรรค ข้อปฎิบัติให้ถึงความดับทุกข์

และหลังจากแสดงพระธรรมเทศนาแล้ว ท่านโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นคนแรก ได้กราบฑูลขอบวชและพระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาต โดยทรงทำการอุปสมบทให้แบบ เอหิภิกขุอุปสัมปทา นับเป็น"ปฐมสาวก" ของพระพุทธเจ้า

ดังนั้นในวันนี้จึงเป็นวันแรกที่มี พระรัตนตรัยครบองค์สาม คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เนื่องจากพระพุทธองค์ทรงเทศนาเป็นกัณฑ์แรก จึงเรียกเทศฯกัณฑ์นี้ว่า "ปฐมเทศนา" หรืออีกนัยหนึ่งอาจจะกล่าวได้ว่านับเป็นวันแรก ที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา




จะเห็นได้ว่า ปรากฏการณ์สำคัญ ๆ ในวันนี้มีถึง 4 ประการ ด้วยกันคือ
1. เป็นวันแรกที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา
2. เป็นวันแรกที่พระพุทธองค์ทรงได้ปฐมสาวก
3. เป็นวันแรกที่พระสงฆ์เกิดขึ้นในโลก
4. เป็นวันแรกที่บังเกิดรัตนะครบสาม เป็นพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ

เคล๊ดลับการเตรียมตัวสอบแอดมิชชั่น

แนวข้อสอบเก่าช่วยคุณได้

เทคนิคข้อนี้รับรอง และรับประกันจากท่านอาจารย์กวดวิชาหลายๆท่านครับ ซึ่ง พี่ลาเต้ เองก็เห็นด้วย และสนับสนุนเต็มที่ครับ แนวข้อสอบเก่าๆจะเป็นคลังข้อมูลอย่างดีที่จะทำให้เราสอบแอดมิชชั่นได้ง่ายขึ้น ซึ่งก่อนอื่น พี่ลาเต้ ต้องฟันธงให้ชาวเด็กดีทุกคนทราบก่อนว่า ลำพังเรียนในคาบเรียนของโรงเรียนต่างๆ หรือเรียนกวดวิชาที่ดังที่สุด ไม่สามารถทำให้ประสบความสำเร็จในการสอบแอดมิชชั่นได้ ข้อสอบแอดมิชชั่น กับข้อสอบปลายภาคในโรงเรียน หากเปรียบเทียบกันมันคนละเรื่องกันเลย คนละทาง คนละสายงาน หรือจะเรียกได้ว่าคนละภาษาก็ว่าได้ครับ ดังนั้นหากชาวเด็กดีอยากจะคุ้นเคย รู้มุมถาม มุมตอบ มุมโจทย์ของข้อสอบแอดมิชชั่น ก็ต้องหาแนวข้อสอบแอดมิชชั่นเก่าๆมาอ่าน และฝึกทำครับ เปรียบกับการเดินเข้าป่า หากเราเคยเดินไปแล้ว และจะเดินเข้าไปอีกรอบก็ย่อมคุ้นเคยเข้าใจมากกว่าคนที่ไม่เคยเข้าไปเลย...


กวดวิชา ช่วยได้ในบางส่วน

อย่างที่บอกไปว่าการที่จะเอาดีทางด้านการเรียนในห้องเรียนอย่างเดียว คงจะไม่พอเสียแล้วสำหรับการต่อสู้กับศึกแอดมิชชั่นในครั้งนี้ ดังนั้นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างกวดวิชาก็คงต้องเกิดขึ้น แต่หากชาวเด็กดีที่ตัดสินใจเสียเงินไปเรียนกวดวิชาหละก็ พี่ลาเต้ ก็อยากที่จะแนะนำการเลือกคอร์สเรียนกวดวิชาให้ได้ผลครับ อย่างที่ทราบว่าการเรียนกวดวิชานั้นมันไม่ฟรี ต้องเสียตังค์ร่วมพัน ร่วมหมื่นถึงจะเรียนได้ ดังนั้นหากตัดสินใจเรียนแล้วต้องเลือกให้ดี และเหมาะสมกับปัญหาของตัวเองที่สุด อย่างเช่นตอนนี้ ชาวเด็กดีอยากจะเรียนกวดวิชาเพื่อเข้ามหาวิทยาลัยให้ได้ ก็ต้องลงคอร์สที่เกี่ยวกับแอดมิชชั่น จากที่ พี่ลาเต้ ออกไปทำข่าวสัมภาษณ์อาจารย์กวดวิชามาหลายท่าน ก็จะพบว่ากวดวิชาบางแห่งจะมีคอร์สที่เน้นเรื่องแอดมิชชั่นล้วนๆ หรือบางแห่งมั่นใจมากๆ ก็เปิดสอนเพื่อเข้ามหาวิทยาลัยตามฝันให้ได้ หากไม่ได้ยินดีคืนเงิน ซึ่ง พี่ลาเต้ ว่าคอร์สเหล่านี้ก็ดีกว่าพวกที่ไปเรียนเพิ่มเกรด ซึ่งไม่ได้ช่วยให้สอบแอดมิชชั่นได้ง่ายขึ้นเลยครับ มิหนำซ้ำยังอาจสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้อีกด้วย


ประสบการร์จากรุ่นพี่เป็นสิ่งสำคัญ

การสอบแอดมิชชั่นในแต่ละครั้ง พี่ลาเต้ เชื่อว่าชาวเด็กดีได้หาข้อมูล ตารางสอบ หรือแนวข้อสอบเพื่อมาเตรียมพร้อมกันอย่างครบถ้วนแล้ว ซึ่งก็หาได้ง่ายมากๆตามตำราคู่มือใบสมัคร หรือสอบถามจากท่านอาจารย์แนะแนว แต่สิ่งที่หลายๆคนมองข้ามไป หรืออาจจะคิดไม่ถึงว่าสิ่งนี้ก็สำคัญมากๆในการสอบแอดมิชชั่นเหมือนกัน นั้นก็คือ ประสบการณ์จากรุ่นพี่ ซึ่งไม่สามารถหาได้จากตำราเรียนเล่มไหน แต่ต้องอาศัยการบอกต่อจากปากของรุ่นพี่เอง ซึ่ง พี่ลาเต้ มองว่าการที่คนหนึ่งเคยลงสนามแข่งมาแล้ว ย่อมเห็น ย่อมเข้าใจ และถ่ายทอดได้ดีกว่าอีกคนหนึ่งที่ไม่เคยลงสนามแข่งเลย ถึงแม้ว่าคนนั้นจะเข้าใจในกติการการเล่นในสนามมากน้อยแค่ไหน ดังนั้น ประสบการณ์ในการอ่านหนังสือของรุ่นพี่ๆ ประสบการณ์ในเตรียมตัวของรุ่นพี่ๆ และประสบการณ์ในการหาข้อมูลของรุ่นพี่ๆ จึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญอย่างมาก...ถึงมากที่สุด ที่จะทำให้ชาวเด็กดีรู้ทัน และเข้าใจ รวมถึงมีความพร้อมที่จะประสบความสำเร็จในการสอบแอดมิชชั่นมากขึ้น


อ่านตอนเย็นไม่ควรอ่านตอนเช้า

การอ่านหนังสือเตรียมสอบในชั้นเรียน ส่วนใหญ่จะเลือกอ่านในตอนเช้าๆ เพราะจะได้เข้าหัว ส่วนก่อนเข้าห้องสอบก็ไปติวหน้าห้องกับเพื่อนๆเพื่อความชัวร์อีกทีหนึ่ง แต่การอ่านหนังสือเตรียมสอบแอดมิชชั่นนั้น ต้องบอกว่ากลับตาลปัตรอย่างสิ้นเชิง เพราะควรจะอ่านตอนหัวค่ำมากกว่า โดยเฉพาะช่วงก่อนนอน เพราะถือว่าเป็นช่วงที่เหมาะสมมากที่สุด อ่านไปแล้วค่อยพักผ่อนหละ...(แต่อย่าอ่านไปด้วย นอนไปด้วยนะ ไม่งั้นอาจจะได้พักผ่อนก่อนการอ่าน..อิอิ..) ที่ใช้วิธีนี้ก็เพราะว่า การอ่านเตรียมสอบแอดมิชชั่นไม่ใช่การอ่าน แล้วใช้งานทันที แต่เป็นการอ่านเพื่อทบทวน เพื่อรื้อฟื้นสิ่งที่เคยเข้าใจอีกครั้งหนึ่ง..ดังนั้น หากนำบทเรียนแอดมิชชั่นไปอ่านตอนเช้า พอสายๆไปเรียนในชั้นเรียน เนื้อที่อ่านมาก็จะถูกลืม และตีกับบทเรียนใหม่ซะยุ่งเหยิงเลยทีเดียว




ไม่ควร..อ่านแต่เนื้อหาอย่างเดียว


เขาบอกว่าคนเราจะเตะฟุตบอลได้ดีหรือไม่นั้น จะมามัวนั่งอ่านกฏกติกา วิธีเล่นอย่างเดียวก็คงไม่ได้ ต้องลองเล่นในสนามจริงๆดู ซึ่งก็เปรียบได้กับการอ่านหนังสือเพื่อเตรียมสอบ หากอ่านแต่เนื้อหา อ่านแต่กฏ หรือสูตรลัดต่างๆ แต่ไม่ลองอ่านแนวข้อสอบเก่าๆ ก็อาจจะไม่ได้ผล เพราะหลายคนมักจะมาพลาดตรงข้อสอบที่ออก ซึ่งต่อให้เข้าใจ อ่านมาแน่นขนาดไหน แต่ไม่รู้แนวการถาม หรือแนวข้อสอบ ก็คงต้องผิดหวังไปตามๆกันครับ...เปรียบการทำข้อสอบแอดมิชชั่น เป็นการเตะฟุตบอลที่การสอบปกติจะเตะจากกลางสนามเข้าประตู แต่สำหรับแอดมิชชั่นคือการเตะจากข้างสนามเพื่อส่งให้เพื่อนโหม่งเข้าประตูครับ


อ่านเพื่อเข้าใจ ไม่ใช่ท่องจำ

สำหรับแนวคิดในข้อนี้ คำว่ารู้ลึก รู้จริง รู้แบบเข้าใจ คงจะใช้ได้ดีครับ...เพราะฉะนั้นการอ่านหนังสือเพื่อเตรียมตัวสอบแอดมิชชั่น พี่ลาเต้ ขอฟันธงเลยว่า ให้น้องๆอ่านแบบทำความเข้าใจ อย่าไปอ่านแล้ว จำ จำ จำ เพราะไม่งั้นน้ำตาตกหลังสอบแน่ๆ ที่ต้องอ่านแบบนี้ เพราะแนวข้อสอบแอดมิชชั่น โดยเฉพาะ O-NET จะเป็นข้อสอบที่กว้างมากๆ มันจะไม่ถามอะไรที่เฉพาะเจาะจง แต่จะถามชนิดว่าความรู้กว้างๆ ภูมิหลัง หรือความเข้าใจ ซึ่งหากอ่านแบบให้เข้าใจ โดย