วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

คำทำนายสีบอกลักษณะ

ชมพู : คนที่ชอบสีนี้มีอารมณ์ และจิตใจอ่อนไหว แต่อบอุ่นให้ความรู้สึกที่เป็นมิตร ยึดมั่นใจอุดมคติที่รุนแรง แต่เกลียดการตัดสินใจทุกเรื่อง คนๆ นี้จะเป็นผู้ตามที่ดี

สีแดง : คนที่ชอบสีแดงเป็นคนใจร้อน ค่อนข้างก้าวร้าว ชอบเสี่ยง กล้าได้กล้าเสีย ถ้าตั้งใจจะทำอะไรแล้ว ใครก็มาเปลี่ยนใจไม่ได้

สีส้ม : คนที่ชอบสีส้มเป็นคนอ่อนไหว เปลี่ยนแปลงง่าย หัวก้าวหน้า มีความคิดสร้างสรรค์ดีแต่เบื่อง่าย ถ้าคุณชอบสีนี้แสดงว่าคุณเป็นคนร่าเริง คบง่าย มองโลกในแง่ดี ที่สำคัญเป็นคนที่ฉลาด อย่างหาตัวจับได้ยากเลยล่ะ

สีฟ้า : คนที่ชอบสีฟ้าถือว่าเป็นคนรักสงบ ไม่ชอบสังคม รักสันโดด อาจจะเข้ากับคนยาก จึงไม่เหมาะที่จะทำงานเป็นกลุ่ม

สีเขียว : คนที่ชอบสีเขียวจะเอาอกเอาใจคนเก่ง ชอบช่วยเหลือคนอื่น มีน้ำใจ เข้ากับคนง่ายจึงทำงานเป็นกลุ่มได้ดี เหมาะกับเลขานุการ หรือประชาสัมพันธ์มาก

สีเทา : คุณเป็นคนประเภทอนุรักษ์นิยม จริงจังกับชีวิต และมีความรับผิดชอบสูง

สีน้ำตาล : คนที่ชอบสีนี้ ค่อนข้างเป็นคนเฉื่อยชา ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบงานประจำ ซ้ำซากจำเจ ไม่รู้ร้อนรู้หนาว ไร้จินตนาการ แถมยังขี้ตืดอีกอ่ะ

สีม่วง : คนที่ชอบสีม่วง ค่อนข้างเป็นคนแปลกและลึกลับพิกล แต่จะมีพรสวรรค์ หรือความสามารถพิเศษบางอย่าง ที่แตกต่างจากคนอื่นๆ เป็นเสน่ห์ที่คนไม่มี ประเภทศิลปิน ครีเอทีฟ นักแต่งเพลง ฯลฯ

สีดำ : เป็นแห่งความลึกลับ ซ่อนเร้น คนที่ชอบสีดำจะเป็นคนที่มีความอดทน ค่อนข้างลึกลับ เก็บงำ ชอบชีวิตโดดเดี่ยวและรุนแรง

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เทศกาลวัฒนธรรมฝรั่งเศส


MUSIC DAY [Fête de la Musique]


>> From 2PM, many stages, many ambiences, many music groups, amateurs and professionals alike, will perform in the Central World square and the premises of TK Park.
>> From 6PM, many influential groups in the Thai musical landscape will share the limelight with the French group Les Blérots de R.A.V.E.L late into the night, for an evening of sheer madness!


Les Blérots de R.A.V.E.L (France)With a career span of 11 years and over 1000 concerts, the Blérots de R.A.V.E.L are unique talents on stage. These slightly, but in a nice way, offbeat singers, actors and musicians are unparalleled when it comes to performing festive concerts, blending jazz and ska, gypsy, French pop, rock and brass bands music. If you go for the mood of Emir Kustarica films, don’t miss these artists! In the family of the Ogres de Barback, la rue kétanou, Debout sur le zinc or les hurlements d’Léo- this is one of the most exciting groups of the latest French music!


This year, Music Day is also a Gourmet Day. You will find at the venue French delicacies to eat and drink at affordable prices! Made possible with the support of the Sopexa for you to have a perfect day.

ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทยฝรั่งเศส

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศฝรั่งเศสและประเทศไทยมีประวัติอันยาวนาน ทั้งสองได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเมื่อปีพ.ศ. 2545 ซึ่งทำให้สัมพันธภาพและมิตรภาพของทั้งสองเหนียวแน่นขึ้น

ช่วงศตวรรษที่ 17 ประเทศฝรั่งเศสและประเทศสยามได้เริ่มความสัมพันธ์กันอย่างเป็นทางการครั้งแรก คณะทูตจากประเทศไทยได้เดินทางไปเยือนประเทศฝรั่งเศสในปีพ.ศ.2227 และพ.ศ.2229 โดยได้รับการต้อนรับจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 คณะตัวแทนจากฝรั่งเศสหลายคณะได้เดินทางมายังประเทศไทยเพื่อเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์เช่นกัน คณะฯที่มีชื่อเสียงที่สุดเห็นจะได้แก่คณะของเชอร์วัลลิเยร์ เดอ โชมงต์ ความสัมพันธ์ทางด้านการทูตของทั้งสองประเทศเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปีพ.ศ.2399 และได้มีการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ด้านการทูตระหว่างสองประเทศครบ 150 ปีเมื่อปีพ.ศ.2549

ในส่วนของการล่าอาณานิคมในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เมื่อปีพ.ศ.2436 วิกฤตการณ์ ร.ศ.112 (กรณีพิพาทระหว่างประเทศสยามและประเทศฝรั่งเศส) ทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรป 2 ครั้งในปีพ.ศ.2440 และพ.ศ.2450 สัมพันธภาพดังกล่าวดีขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งประเทศไทยร่วมมือทางการทหารกับฝรั่งเศส หลังสงครามสิ้นสุด ในปีพ.ศ.2461 ประเทศสยามได้ส่งทหารเข้าร่วมสวนสนามที่ถนนชองส์ เอลิเซส์ ประเทศฝรั่งเศส อีกด้วย

ในช่วงระหว่างสงครามโลกทั้งสองครั้ง ประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศสได้กระชับความสัมพันธ์ทั้งด้านการทูตและการเมือง รวมถึงด้านการทหาร (รัชกาลที่ 7 ทรงเป็นพระสหายร่วมชั้นกับนายพลเดอ โกลล์ของฝรั่งเศส) และด้านวัฒนธรรม นักศึกษาจากประเทศสยามเดินทางไปศึกษาต่อที่กรุงปารีสเป็นจำนวนหลายคน รวมถึงท่านปรีดี พนมยงค์ ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาประเทศไทยยุคใหม่

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างเดือนกันยายนพ.ศ.2483 และพฤษภาคมพ.ศ.2484 กองทหารของประเทศทั้งสองได้เผชิญหน้ากันทั้งในดินแดนอินโดจีน อาณานิคมของฝรั่งเศส และในประเทศไทย ฝ่ายไทยได้ยึดเสียมเรียบและพระตระบอง ประเทศฝรั่งเศสแสดงความไม่พอใจ และปะทะกับกองทัพไทย อันเป็นเหตุให้เรือรบไทยจมลงที่เกาะช้าง สุดท้าย มีการลงนามสงบศึกที่กรุงโตเกียวเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคมพ.ศ.2484 อย่างไรก็ตาม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศยังไม่แน่นแฟ้นเท่าไหร่นัก ถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนประเทศฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ. 2503 แล้วก็ตาม

ช่วงต้นปีพ.ศ. 2543 ความสัมพันธ์ระหว่างฝรั่งเศสและไทยกลับกระชับเหนียวแน่นอีกครั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้เยือนประเทศฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2546 ประเทศทั้งสองพร้อมใจที่จะเปิดศักราชใหม่ของความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและด้านวิทยาศาสตร์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรถือว่าประเทศฝรั่งเศสเป็นหุ้นส่วนที่สำคัญของประเทศไทยในยุโรป เช่นเดียวกับประธานาธิบดี ฌากส์ ชิรัค ที่เห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศเอเชียที่สำคัญเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีการลงนามในแผนปฏิบัติการร่วม ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2547 โดยนายมิเชล บาร์นิเยร์และดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของประเทศทั้งสอง

การเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของนายฌากส์ ชิรัค ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2549 ในฐานะราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะสมานความสัมพันธ์ฝรั่งเศสไทยให้แน่นแฟ้นขึ้นอีกครั้ง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสเสนอให้มีการรับร่างสนธิสัญญาสมานฉันท์และความร่วมมือแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (หรือ TAC) เพื่อกระตุ้นให้มีการหารือทางด้านการเมืองระหว่างประเทศทั้งสองมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังส่งเสริมความร่วมมือด้านความปลอดภัยและการป้องกันประเทศ การช่วยเหลือประเทศที่สาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศลาวและกัมพูชา ร่วมกัน ทั้งนี้ รวมถึงความร่วมมือด้านวัฒนธรรม การศึกษาระดับสูงและการวิจัย และการกระตุ้นความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ รัฐมนตรีกำกับดูแลด้านเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศได้หารือร่วมกันเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ณ กรุงปารีส

ในปีพ.ศ. 2548 การแลกเปลี่ยนทางด้านการค้าระหว่างประเทศไทยและฝรั่งเศสมีจำนวนถึง 3,100 ล้านยูโร (เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 38 ภายในปีเดียว) ประเทศฝรั่งเศสส่งสินค้าออกมายังประเทศไทยเป็นอันดับที่ 15 ของจำนวนประเทศที่ฝรั่งเศสส่งสินค้าออกทั้งหมด (มูลค่า 1,600 ล้านยูโร) ในขณะที่ประเทศไทยส่งสินค้าออกไปยังประเทศฝรั่งเศสมากเป็นอันดับที่ 17 ของจำนวนประเทศที่ไทยส่งสินค้าออกทั้งหมด (มูลค่า 1,514 ยูโร) ปัจจุบัน บริษัทฝรั่งเศสในประเทศไทยมีจำนวนมากถึง 300 บริษัท

นอกจากนี้ ประเทศทั้งสองยังกระชับความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และวิชาการอีกด้วย ในส่วนของวัฒนธรรม ได้มีการจัดเทศกาลวัฒนธรรมฝรั่งเศสหรือลา แฟ็ต ณ กรุงเทพฯ ในขณะที่ฝ่ายไทยจัดงานเทศกาลวัฒนธรรมไทยซึ่งมีชื่อว่า Tout à fait Thaï ณ ประเทศฝรั่งเศส ในส่วนของวิชาการ ฝ่ายไทยและฝ่ายฝรั่งเศสยังมีโครงการร่วมด้านวิทยาศาสตร์ การวิจัย การแลกเปลี่ยนระหว่างหน่วยงานการศึกษา ฯลฯ อีกด้วย

หลังจากเกิดการปฏิวัติเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ในประเทศไทย ประเทศฝรั่งเศสและสมาชิกสหภาพยุโรปมีความคิดเห็นว่าการนำประเทศไทยกลับไปสู่ระบอบประชาธิปไตยและการยึดหลักรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในขณะนี้ นอกจากนั้น ยังประสงค์ให้มีการยกเลิกกฎอัยการศึก การเคารพในสิทธิมนุษยชน และสิทธิเสรีภาพของประชาชน และส่งเสริมให้มีการจัดการเลือกตั้งอย่างเสรีอันถูกต้องตามหลักประชาธิปไตยให้เร็วที่สุด ประเทศฝรั่งเศสยังประสงค์ที่จะกระชับสัมพันธภาพกับประเทศไทย โดยยึดมั่นในสันติภาพ เสรีภาพ และหลักประชาธิปไตย

วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2552

คิมฟุค เด็กหญิงแห่งสงคราม

Kim Phuc is Her Name
คิมฟุค คือใคร ก็ลองหลับตานึกย้อนไปตอนสงครามเวียดนามซีครับ มีภาพอยู่ภาพหนึ่งที่เผยแพร่-โด่งดังจนได้รับรางวัลระดับโลก หนังสือพิมพ์บ้านเราก็ยังเอามาลงหน้า 1 อยู่บ่อยๆ


"คิมฟุค" คือเด็กหญิงชาวเวียดนามใต้คนนั้น ซึ่งช่างภาพอเมริกันได้ถ่ายไว้ ขณะที่เธอและเพื่อนบ้านกำลังแตกตื่นหนีภัย แม้เธอจะรอดตายจากระเบิดนาปาล์มที่ทิ้งลงหมู่บ้านของเธอ แต่ไฟก็ได้เผาลวกผิวหนังของเธอถึง 65%
เธอต้องรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลถึง 14 เดือน และผ่านการผ่าตัดถึง 17 ครั้ง กว่าจะหายเป็นปกติ เธอยังโชคดี เมื่อเทียบกับลูกพี่ลูกน้องอีก 2 คน ซึ่งตายเพราะทนพิษบาดแผลไม่ไหว
นั่นคือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2515 เมื่อเวียดนามกลายเป็นคอมมิวนิสต์ 3ปีต่อมา ก็ไม่มีข่าวคราวของเธอปรากฏสู่โลกภายนอกอีกเลย

แต่แล้ววันหนึ่งในปี พ.ศ.2539 คิมฟุคก็ได้มาปรากฏตัวอยู่ต่อหน้าชาวอเมริกัน ซึ่งเคยผ่านสมรภูมิเวียดนาม เธอได้รับเชิญให้มาพูดเนื่องในโอกาสวันทหารผ่านศึก ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
การได้มาเผชิญหน้ากับบุคคล ซึ่งครั้งหนึ่งได้เคยมาทำลายบ้านเกิดเมืองนอนของเธอ ทำให้ญาติพี่น้องของเธอต้องตาย และเกือบฆ่าเธอให้ตายไปด้วยนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ทำใจได้ง่ายนัก แต่เธอมาก็เพื่อจะบอกให้พวกเรารู้ว่
า สงครามนั้นได้ก่อความทุกข์ทรมานแก่ผู้คนอย่างไรบ้าง


หลังจากที่เล่าถึงประสบการณ์อันเจ็บปวดของเธอแล้ว เธอก็ได้เผยความในใจว่า มีเรื่องหนึ่งที่เธออยากจะบอกต่อหน้านักบินที่ทิ้งระเบิดใส่หมู่บ้านของเธอ
พูดมาถึงตรงนี้ก็มีคนส่งข้อความมาบอกว่า คนที่เธอต้องการพบกำลังนั่งอยู่ในห้องประชุมนี้ เธอจึงเผยความในใจออกมาว่า "ฉันอยากบอกเขาว่า เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ได้ แต่เราควรพยายามทำสิ่งดีๆ เพื่อส่งเสริมสันติภาพทั้งในปัจุบัน และอนาคต"
เมื่อเธอบรรยายเสร็จ ลงมาจากเวที อดีตนักบินที่เกือบฆ่าเธอก็มายืนอยู่เบื้องหน้าเธอ เขามิใช่ทหารอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นศาสนาจารย์ประจำโบสถ์แห่งหนึ่ง เขาพูดด้วยสีหน้าเจ็บปวดว่า "ผมขอโทษ ผมขอโทษจริงๆ"
คิมเข้าไปโอบกอดเขา แล้วตอบว่า "ไม่เป็นไร ฉันให้อภัย ฉันให้อภัย"
ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่เราจะให้อภัย โดยเฉพาะกับคนที่ทำร้ายเราปางตาย คิมฟุคเล่าว่า เหตุการณ์ครั้งนั้นสร้างความทุกข์ทรมานแก่เธอทั้งกายและทั้งใจ จนเธอเองก็ไม่รู้ว่าจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อย่างไร
แต่แล้วเธอก็พบว่า สิ่งที่ทำร้ายเธอจริงๆ มิใช่ใครที่ไหน หากได้แก่ความเกลียดชังที่ฝังแน่นในใจเธอนั่นเอง 'ฉันพบว่าการบ่มเพาะความเกลียดเอาไว้ สามารถฆ่าฉันได้'
เธอพยายามสวดมนต์ เพื่อให้ตัวเองให้อภัยแก่ศัตรู และแก่คนที่ก่อความทุกข์ให้เธอ แล้วเธอก็พบว่า 'หัวใจฉันมีความอ่อนโยนมากขึ้นเรื่อยๆ เดี๋ยวนี้ฉันสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องเกลียด'
เราไม่อาจควบคุมกำกับผู้คนให้ทำดี หรือไม่ทำชั่วกับเราได้ แต่เราสามารถควบคุมกำกับจิตใจของเราได้ เราไม่อาจเลือกได้ว่า รอบตัวเราต้องมีแต่คนน่ารัก พูดจาอ่อนหวาน แต่เราสามารถเลือกได้ว่า จะทำใจอย่างไร เมื่อประสบกับสิ่งไม่พึงปรารถนา
คิมฟุค ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตัวเองว่า 'ฉันน่าจะโกรธ แต่ฉันเลือกอีกทางหนึ่ง แล้วชีวิตฉันก็ดีขึ้น'
บทเรียนของคิมฟุค คือ ในเมื่อเราเปลี่ยนแปลงอดีตไม่ได้ เราจึงไม่ควรปักใจอยู่กับอดีต แต่เราสามารถเรียนรู้จากอดีตเพื่อทำปัจจุบันและอนาคตให้ดีขึ้นได้
บทเรียนจากอดีตอย่างหนึ่งที่เธอได้เรียนรู้มาก็คือ การอยู่กับความโกรธ เกลียด และความขมขื่น นั้น ทำให้เธอเห็นคุณค่าของการให้อภัย



...จงลืมสิ่งที่ผ่านพ้นมาแล้วเสีย แล้วโน้มตัวไปหาสิ่งที่อยู่ข้างหน้า...



หวังว่าทุกๆคนคงจะได้รับแง่คิดจากเรื่องนี้กันนะคะ และขอให้ทุกคนมีความสุขมากๆ นะคะ

วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เชอร์ล็อกโฮมส์


เชอร์ล็อก โฮล์มส์ : นามนี้ไม่มีวันจางหาย


พระเอกจากวรรณกรรมเรื่องไหนๆ ก็คงไม่มี "ชีวิตหลังความตาย" ที่มีสีสันเฉิดฉายเกินหน้าพ่อยอดนักสืบ "เชอร์ล็อก โฮล์มส์" ของบรรดานักอ่านไปได้ โฮล์มส์ตายไปต่อหน้าต่อตานักอ่านเมื่อปี 2436 ขณะต่อสู้กับศัตรูตัวฉกาจจนตกหน้าผาไปด้วยกันตามบัญชาของผู้ประพันธ์ "เซอร์อาเธอร์ โคนัน ดอยล์" ที่อยากจะอุทิศตนไปเขียนหนังสือประวัติศาสตร์มากกว่า


เซอร์อาเธอร์ไม่สนใจแม้แต่ความต้องการของมารดาตนเองที่อยากให้พระเอกคนเก่งมีชีวิตต่อไป เขาปิดหูปิดตาต่อเสียงเรียกร้องของแฟนๆ ที่ไม่ยอมให้สุดยอดนักสืบต้องตาย และไม่สนใจบรรดาจดหมายจากแฟนขี้โมโหที่เขียนมาต่อว่าโทษฐานสังหารโฮล์มส์ "ผมเบื่อโฮล์มส์มาก เบื่อเหมือนเวลาเรากินอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งเยอะๆ จนเอียนแล้วพานไม่อยากเห็นไปเลย" ผู้สร้างโฮล์มส์มากับมือเคยบอกเล่าความในใจเอาไว้


นักอ่านหลายคนเคียดแค้นจนประท้วงด้วยการใส่ผ้าคาดแขนดำไว้ทุกข์ให้โฮล์มส์ พระเอกที่พวกเขารักกันทั่วกรุงลอนดอน ในปี 2444 โฮล์มส์กลับมาทักทายนักอ่านอีกครั้ง ไม่ใช่เพราะเสียงเรียกร้องของแฟนๆ หากแต่เป็นความจริงที่เซอร์อาเธอร์ต้องการเงินมาใช้จ่ายส่วนตัว และคงไม่มีงานเขียนไหนจะตักตวงเงินเป็นกอบเป็นกำให้ได้เท่ายอดนักสืบเชอร์ล็อก โฮล์มส์อีกแล้ว ทว่า โฮล์มส์กลับยังมิได้ฟื้นคืนชีพเต็มตัวสมเจตนารมณ์ของแฟนๆ ในครานั้น เนื่องจากผู้ประพันธ์บรรจงเขียนให้เรื่องราวที่ ใหม่เป็นช่วงชีวิตของโฮล์มส์ก่อนหน้าจะไปเจอะศัตรูตัวฉกาจจนตกหน้าผา


อย่างไรก็ดี เซอร์อาเธอร์ยอมละทิ้งเจตนาดั้งเดิมที่จะฆ่าโฮล์มส์ทิ้งในปี 2446 และเปิดตัวให้พ่อยอดนักสืบกลับมาอย่างเต็มภาคภูมิในตอน "ดิ แอดเวนเจอร์ ออฟ ดิ เอ็มตี้ เฮ้าส์" ซึ่งเผยว่าโฮล์มส์เพียงแต่แกล้งตายไปเท่านั้น ช่วงเวลาที่หายหน้าหายตาไปนั้น โฮล์มส์ได้ไปท่องเที่ยวต่างแดนนานถึง 2-3 ปีกว่าจะหวนคืนสู่แดนอังกฤษ และกลับมาปฏิบัติการได้เด็ดขาดประทับใจแฟนๆ เช่นเคย นับตั้งแต่นั้นมา เซอร์อาเธอร์ยังเขียนเรื่องราวการผจญภัยของโฮล์มส์ออกมาให้นักอ่านได้ปลื้มกันอีกถึง 31 ตอน โดยตอนสุดท้ายออกสู่ตลาดเมื่อปี 2470 ก่อนหน้าที่นักเขียนจะเสียชีวิตเพียง 3 ปีเท่านั้นเอง
แม้ผู้สร้างและมอบชีวิตให้แก่โฮล์มส์จะล่วงลับไปแล้ว แต่พระเอกยอดนักสืบรายนี้กลับยังคงมีชีวิตโลดแล่นต่อมาจวบจนถึงทุกวันนี้ โฮล์มส์ปรากฏตัวอยู่บนแผ่นฟิล์มกว่า 100 เรื่อง ละครวิทยุ และละครเวทีอีกร่วม 200 เรื่อง และยังเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดหนังสืออีกมากมายนับไม่ถ้วน ซึ่งหากไม่เป็นภาคต่อเกี่ยวกับเรื่องราวผจญภัยของเขา ก็เป็นเรื่องราวที่อธิบาย
ให้ผู้อ่านรู้เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเขามากขึ้น

กลุ่มแฟนคลับเชอร์ล็อก โฮล์มส์มากมายเสียจนมีการให้ทุนนักวิจัยไปค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับโฮล์มส์อย่างละเอียดเพื่อช่วยเติมข้อมูลเกี่ยวกับสุดยอดพระเอกที่นายโคนัน ดอยล์ไม่ได้บอกไว้

นายโคนัน ดอยล์ อธิบายโฮล์มส์ไว้แบบเบ็ดเสร็จว่า "เป็นเครื่องจักรด้านตรรกเหตุผล และสังเกตการณ์ที่สมบูรณ์แบบที่สุดในโลก" ผู้ศึกษาเกี่ยวกับโฮล์มส์ในยุคหลังบ่นว่าพระเอกรายนี้ดูแทบไม่มีความเป็นมนุษย์สมจริงเอาเสียเลยเพราะแกเล่นไม่สานสัมพันธ์สวาทกับสาวใดเลย หลงตัวเองสุดๆ และมองว่าตัวเองอยู่เหนือคนอื่นตลอดเวลา ทว่า แฟนๆ ของโฮล์มส์ตอบรับแบบง่ายๆ ว่า เสน่ห์ของตัวละครตัวนี้มิได้อยู่ที่ความสมจริงที่ผู้อ่านสามารถจะเอาตัวนี้มาเชื่อมโยงกับตัวเองได้ แต่เป็นความเก่งฉกาจ จัดการได้ทุกสถานการณ์ และความเหนือกว่าที่โฮล์มส์นำเสนอสู่สายตานักอ่านได้ทุกเมื่อต่างหาก
"สิ่งที่ดูเหนือมนุษย์มนาอย่างนั้นแหละที่ช่วยให้โฮล์มส์น่าหลงใหลยิ่งขึ้น" แฟนๆ กล่าวเป็นเสียงเดียวกัน