โรคสะเก็ดเงินคืออะไร (What is Psoriasis?)
สะเก็ดเงินเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะสำคัญคือ เป็นปื้นนูนแดงปกคลุมด้วยสะเก็ดสีเทาเงิน ปื้นแดงนี้มักพบบริเวณข้อศอก เข่า หลังส่วนล่าง และหนังศีรษะ แต่อาจพบผื่นที่ผิวหนังบริเวณใดของร่างกาย ก็ได้รวมทั้งที่เล็บ ในกรณีที่ผื่นสะเก็ดเงิน เกิดขึ้นในบริเวณข้อพับต่างๆ เช่น ขาหนีบ รักแร้ อวัยวะสืบพันธุ์ ภายนอก และใต้ฐานเต้านมในผู้หญิง ก็มักจะมีลักษณะต่างจากลักษณะข้างต้นคือ ผื่นจะมีสะเก็ดค่อนข้างน้อย หรือไม่มีเลยและพื้นผิวค่อนข้างมัน โดยทั่วไปผื่นสะเก็ดเงินมักไม่พบที่บริเวณใบหน้า นอกจากนี้เมื่อผื่น สะเก็ดเงินหายแล้ว จะไม่มีรอยแผลเป็นหลงเหลืออยู่ และน้อยรายมากที่จะทำให้เกิดผมร่วง อย่างไรก็ดี อาจมี ร่องรอยการเปลี่ยนแปลงของสีผิวหนังในบริเวณที่เคยเป็นผื่นสะเก็ดเงินมาก่อน หลงเหลืออยู่แต่ก็จะค่อยๆ กลับเป็นปกติเมื่อเวลาผ่านไป (ข้อมูลจาก นพ.พีระพัชร์ นิ่มกุลรัตน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนัง )
โรคสะเก็ดเงินทำให้เซลล์ผิวหนังกำพร้าแบ่งตัวเร็ว ทำให้ผิวหนาตัวขึ้นและเป็นขุย และเชื่อว่าพันธุกรรมก็มีส่วนทำให้เกิดโรคโดยจะต้องมีปัจจัยกระตุ้นซึ่งได้แก่ ความเครียด ผิวหนังที่มีแผล รวมทั้งการติดเชื้อและจากยาบางชนิด มักเป็นมากในระยะวัยรุ่น และพบมากในวัยกลางคนไม่ติดต่อโดยการสัมผัส โรคมีหลายรูปแบบความรุนแรงก็มีหลายระดับ รูปแบบที่พบบ่อยคือ ผู้ป่วยร้อยละ ที่เป็นเรื้อนกวางจะเป็นชนิดนี้ ตำแหน่งที่พบได้คือบริเวณผิวหนังทุกแห่ง เช่น หนังศีรษะ ลำตัว เล็บ
สาเหตุของโรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis Cause)
สะเก็ดเงินเป็นโรคที่พบได้บ่อยประมาณร้อยละ 2 ของประชากรที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ สาเหตุที่แท้จริงยัง ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ผลที่เกิดขึ้นกับผิวหนัง คือมีการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังเร็วขึ้นกว่าปกติ และทำให้ ผิวหนังบริเวณที่เป็นผื่นมีความหนากว่าผิวหนังปกติ สาเหตุPsoriasis Cause หนึ่งที่เชื่อว่าทำให้เกิดโรคสะเก็ดเงิน คือการตอบ สนองทางภูมิคุ้มกันอย่างผิดปกติต่อองค์ประกอบบางอย่างของผิวหนัง แต่สาเหตุที่แท้จริงยังไม่เป็นที่ทราบ แน่ชัดและอยู่ในระหว่างการศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างขวาง
ปัจจัยทางพันธุกรรมก็อาจมีส่วนเกี่ยวข้อง เนื่องจากพบว่ามีเพียงสมาชิกในบางครอบครัวเท่านั้นที่ป่วย เป็นโรคนี้ และพบ และพบว่าประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน จะมีสมาชิกอย่างน้อยหนึ่งคนในเครือญาติที่ป่วยเป็นโรคนี้เช่นเดียวกัน
การเกิดผื่นมักเริ่มจากมีปัจจัยบางอย่างมากระตุ้น ได้แก่ อารมณ์เครียด การบาดเจ็บของผิวหนัง (รอย ฉีกขาด รอยแกะ รอยเกา เป็นต้น) อาการเจ็บคอที่เกิดจากเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส การเปลี่ยนแปลงระดับ ฮอร์โมน (ผื่นมักเริ่มเกิดในช่วงแตกเนื้อหนุ่มหรือเป็นสาว) และยาบางชนิด (พบได้น้อย) ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน จึงควรหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นเท่าที่จะสามารถทำได้ อย่างไรก็ดีน่าจะมีปัจจัยอื่นๆ นอกเหนือ จากที่กล่าวมาแต่ยังไม่ได้รับการยืนยัน
ชนิดและความรุนแรงของโรคPlaque
โรคสะเก็ดเงินชนิดนี้พบบ่อยที่สุด ลักษณะจะเป็นผิวหนังที่มีผื่นแดง นูนหนามีขอบชัดเจน บนผื่นจะมีสะเก็ดขาวเหมือนเงินอยู่บนผื่น สะเก็ดนี้เป็นเซลล์ผิวหนังซึ่งตายแล้ว ผิวหนังบริเวณผื่นมักจะแห้ง คัน และเกิดเป็นแผลได้ง่ายแพทย์เรียกชนิดนี้ว่า psoriasis vulgaris
Guttate
ลักษณะผื่นจะเหมือนรูปหยดน้ำเล็กๆเป็นหยดๆ สีแดง ผื่นนี้จะพบมากบริเวณลำตัวและแขนขา ผื่นจะไม่หนาเหมือนกับชนิด plaque มักจะพบในเด็กและวัยรุ่นโดยมีการติดเชื้อของผิวหนังเป็นตัวกระตุ้น
Inverse
สะเก็ดเงินชนิดนี้มักจะพบในคนอ้วน ที่มีเหงื่อออกมาก และมีการระคายเคือง เราอาจจะเรียกว่า Inverse psoriasis, หรือ flexural psoriasis มักพบบริเวณข้อพับ เช่นขาหนีบ รักแร้ เต้านม ก้น ลักษณะผื่นจะราบเรียบ มีการอักเสบแดง ผิวแห้ง ไม่มีขุยและหนาตัวเหมือนชนิด plaque
Erythrodermic
เป็นการอักเสบของสะเก็ดเงิน เป็นชนิดที่พบน้อยที่สุดมักพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคสะเก็ดเงินที่ผื่นสะเก็ดเงินหลุดง่ายผื่นชนิดนี้จะมีลักษณะแดง กระจายไปทั่วและมักจะมีอาการบวม ปวด และคันร่วมด้วย
การรักษา,แนวทางเลือกวิธีการรักษาผื่นโรคสะเก็ดเงิน
ผื่นโรคสะเก็ดเงินมีหลายชนิด การเลือกใช้ยาชนิดใด อย่างไร หรือจะใช้แสงรักษาผื่นผิวหนังที่ผู้ป่วยเป็น ขึ้นกับลักษณะของผื่นและวิจารณญาณของแพทย์ผู้ให้การดูแลรักษา
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกวิธีการรักษามีดังนี้
ลักษณะผื่น
ตำแหน่งของผื่น
ความกว้างของผื่น
ยาหรือเครื่องมือที่แพทย์มีอยู่
ความสะดวกและการยอมรับของผู้ป่วยและญาติ
ความชำนาญของแพทย์ที่เป็นผู้ดูแล
ลักษณะผื่น
ผื่นที่เป็นปื้นหนา ขนาดและจำนวนผื่น โดยรวมน้อยกว่าร้อยละ 20 ของพื้นที่ผิวหนังทั้งหมด ควรเลือกใช้ยาทาเป็นหลัก ชนิดของยาทาที่เลือกใช้ขึ้นกับแพทย์ผู้ดูแลจะเห็นสมควร
ตำแหน่งของผื่น
ตำแหน่งของผื่นเป็นปัจจัยกำหนดในการเลือกรูปแบบของยาที่จะใช้ทา ตัวอย่างเช่น
ผื่นบริเวณหน้า ข้อพับแขน ขา อวัยวะเพศ การเลือกยาทาจะใช้ครีมสตีรอยด์ที่มีฤทธิ์ไม่แรงมากเพราะผิวหนังบริเวณนี้บอบบาง ยาจะซึมผ่านเข้าสู่ผิวหนังได้ดีจึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาที่มีฤทธิ์แรง ยาทาในรูปขี้ผึ้งเหนอะหนะ จึงไม่เหมาะที่จะใช้ในบริเวณ
ข้อพับ
ผื่นที่ศีรษะหรือบริเวณผิวหนังที่มีขนมาก ยาทาที่เหมาะกับผิวหนังบริเวณนี้ในรูปโลชั่น Solution, Gel เพราะยากลุ่มนี้เป็นของเหลวซึมผ่านลงสู่หนังศีรษะได้ดี ยาในรูปขี้ผึ้งไม่เหมาะที่จะใช้บริเวณนี้
ผื่นบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า ซึ่งมีผิวหนังชั้นขี้ไคลหนามาก ควรเลือกยาที่มีฤทธิ์แรงหรือยาทาในรูปขี้ผึ้งหรือน้ำมัน เพราะขี้ผึ้งทำให้ผิวหนังอุ้มน้ำและนุ่ม ยาจะซึมผ่านลงสู่ผิวหนังส่วนที่อยู่ลึกได้ดี เทคนิคอีกอย่างหนึ่งในการทำให้ยาซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ดีคือการแช่ผิวหนังที่มีสะเก็ดหรือขุยหนาในน้ำอุ่นนาน 5-10 นาที ผิวหนังจะอุ้มน้ำและนุ่มขึ้น เช็ดผิวหนังบริเวณนั้นพอหมาดๆแล้วจึงทายา จะช่วยให้ยาซึมผ่านเข้าสู่ผิวหนังส่วนลึกได้มากขึ้น เคล็ดลับอีกประการหนึ่งที่ช่วยให้ยาทาซึมผ่านเข้าสู่ผิวหนังได้มากขึ้น คือการใช้พลาสติกคลุมบริเวณผื่นที่ทายาแล้วปิดเทปกระดาษโดยรอบขอบพลาสติก เพื่อกันไม่ให้พลาสติกหลุดน้ำจากภายในร่างกายไม่สามารถซึมออกสู่ภายนอกได้ บริเวณนั้นจะชุ่มน้ำและนุ่มทำให้ยาซึมเข้าผิวหนังได้มากเป็น 10 - 100 เท่าของผิวหนังปกติ
วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น