วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
หิ่งห้อย^^
การให้แสงของหิ่งห้อย
ทิ้งถ่วงมีอวัยวะทำแสงอยู่บริเวณส่วนท้องด้านล่าง เพศผู้มีอวัยวะทำแสง 2 ปล้อง เพศเมียมี 1 ปล้อง แต่บางชนิดตัวเต็มวัยเพศเมียมีรูปร่างลักษณะคล้ายหนอน มีอวัยวะทำแสงด้านข้างของลำตัว เกือบทุกปล้องแสงของทิ้งถ่วงเกิดจากปฏิกิริยาของสารลูซิเฟอริน (Luciferin) ที่อยู่ในอวัยวะทำแสงกับออกซิเจน มีเอนไซม์ลูซิเฟอเรส (Luciferase) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา และมีสารอดีโนซีนไตรฟอสเฟต (Adenosine Triphosphate,ATP) เป็นตัวให้พลังงานทำให้เกิดแสง ทิ้งถ่วงกระพริบแสงเพื่อการผสมพันธุ์และสื่อสารซึ่งกันและกัน
หิ่งห้อยชนิด "ลูซิโอลา อะควอติลิส" ที่ค้นพบโดย ดร.อัญชนา ท่านเจริญ นักกีฏวิทยาจากมหาวิทยาเกษตรศาสตร์ มีวิธีสื่อสารด้วยแสงได้ถึง 4 แบบ
หิ่งห้อยในประเทศไทย
หิ่งห้อย นับว่าเป็นแมลงที่มีคุณลักษณะพิเศษ คือสามารถบ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์และสมดุลของธรรมชาติได้ โดยเฉพาะมีคุณสมบัติที่สามารถใช้เป็น “ตัวห้ำ” ในการควบคุมศัตรูพืชตามหลักการทางชีวภาพ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่การเกษตรกรรม ซึ่งเป็นวิถีชีวิตหลักของคนไทย
หิ่งห้อยนี้ในระยะที่เป็นตัวหนอนจะกินหอยเล็กๆ เป็นอาหาร ซึ่งหอยเหล่านั้นเป็นพาหะนำโรคหลายชนิดมาสู่มนุษย์และสัตว์ เช่น โรคพยาธิใบไม้ในลำไส้โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น นอกจากนั้น หิ่งห้อย ยังเป็นตัวห้ำ ทำลายหอยเชอรี่ ซึ่งเป็นศัตรูสำคัญกัดกินทำลายต้นข้าวในระยะลงกล้าและระยะปักดำใหม่ๆ หิ่งห้อยจึงเป็นแมลงที่มีความสำคัญทั้งในด้านการแพทย์และการเกษตร
ในกรุงเทพฯนี้ ในอดีตบริเวณปากคลองบางลำพู เคยมีหิ่งห้อยเป็นจำนวนมาก แต่ก็หมดไป เมื่อวิถีชีวิตของผู้คนแถบนั้นเปลี่ยนไป เมื่อ พ.ศ. 2542 กรมศิลปากรร่วมกับกรุงเทพมหานครได้บูรณะป้อมพระสุเมรุและบริเวณจัดสร้างเป็นสวนสาธารณะสันติชัยปราการ และสร้างพระที่นั่งสันติชัยปราการ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าพักผ่อนหย่อนใจน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศล ได้มีการปลูกต้นลำพู และเลี้ยงหิ่งห้อย เพื่ออนุรักษ์และขยายพันธุ์ เป็นการฟื้นฟูวิถีชีวิตบางลำพูในอดีตด้วย
สถานที่ชมหิ่งห้อยที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน เช่น ที่ริมคลองตลาดน้ำอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เกาะลัด อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีมากในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ตุลาคม ควรเลือกชมในคืนเดือนมืด เพราะเห็นแสงของหิ่งห้อยได้อย่างชัดเจน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น