วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กำแพงเมืองจีน (Great Wall) . . . ปักกิ่ง - จีน


กำแพงเมืองจีน ตอนซุ้มประตูปาต๋าหลิ่ง ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของปักกิ่งออกไป ๗๕ กิโลเมตร กำแพงเมืองจีน ถูกถือว่า เป็น 1 ใน 7สิ่งอันมหัศจรรย์ของโลก มีระยะทางยาวกว่า 7000 กิโลเมตร เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและใช้เวลาสร้างนานที่สุดในโลก กำแพงเมืองจีน เริ่มขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 ก่อน ค.ศ.เพื่อป้องกันการรุกรานของชนชาติส่วนน้อยในภาคเหนือ ถึงปี 221 ก่อน ค.ศ.จักรพรรดิ จิ๋นซีได้เชื่อมกำแพงเมืองในแคว้นต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อป้องกันการรุกรานจากชนชาติ
ส่่วนน้อยบนทุ่งหญ้าอันกว้างไพศาลในมองโกเลีย กำแพงเมืองจีนในสมัยนั้นมีระยะทางยาวกว่า 5000 กิโลเมตร หลังจากนั้น ผู้ปกครองของจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่นไดสร้างกำแพงเมืองจีนต่อจนมี ระยะทางยาวกว่า 10000 กิโลเมตร ในช่วงระยะเวลากว่า 2000 ปี ผู้ปกครองของจีนในสมัยต่าง ๆ ต่างก็็เคยสร้างกำแพงเมืองไม่มากก็น้อย รวม ๆ แล้วมีระยะทางยาวกว่า 50000 กิโลเมตร ซึ่งสามารถล้อมโลกกว่า 1 รอบ โดยทั่วไปแล้ว กำแพงเมืองจีนในปัจจุบันหมายถึงกำแพงเมืองจีนสมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ.1368 -ค.ศ.1644)ระหว่างด่านเจียอี้กวนในมณฑลกันซู่ทางภาคตะวันตกถึงริมฝั่งแม่น้ำยาลู่ในข้างนอกของกำแพงเมืองจีนก่อด้วยอิฐก้อนใหญ่และแท่นหิน ข้างในถมด้วยดิน เหลืองและเศษหิน ความสูงประมาณ 10 เมตร สันกำแพงเมืองจีนกว้าง 4 ถึง 5 เมตร ให้ม้า 4 ตัวไปพร้อมกันได้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายทหาร ขนส่งอาหารและอาวุธยามศึก ด้านในของกำแพงเมืองมีประตูที่ทำบันไดหินไว้ การขึ้นลงสะดวกมาก ทั้งได้สร้างป้อมและป้อม จุดไฟสัญญาณแจ้งเหตุเป็นช่วง ๆ ป้อมเป็นที่เก็บอาวุธ อาหารและที่พักของทหาร ยามศึก ก็จะใช้เป็นที่กำบังได้ ถ้ามีศัตรูรุกเข้ามา ก็จะจุดไฟสัญญาณให้มีควันขึ้นบนป้อมแจ้งเหตุเพื่อส่งข่าวไปยังทั่วประเทศทันที กำแพงเมืองจีนมีความหมายทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและคุณค่าทางการท่องเที่ยวอย่างสูง ผู้คนในจีนซึ่งรวมทั้งนักท่องเที่ยวทั้งจีนและเทศแม้กระทั่งผู้นำต่างประเทศด้วยมักจะกล่าวกันว่า ถ้าไม่ขึ้นกำแพงเมืองจีนก็ไม่ใช่ผู้กล้า ปัจจุบันกำแพงเมืองจีนไม่มีสมรรถนะที่เป็นจริงในการีใช้เป็นป้อมศึกอีกแล้วแต่ก็ยังเป็นสิ่งที่น่าทึ่งในฐานะสถาปัตยกรรมอันสง่างามอย่างหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษ เมื่อปี 1987 กำแพงเมืองจีนได้รับการคัดเลือกให้จัดเข้าสู่รายชื่อมรดกโลกในฐานะที่เป็น สัญลักษณ์ของประชาชาติจีน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น