เทคนิคการโต้วาที คือ
*การป้องกัน หมายถึง การป้องกันญัตติด้วยการหาเหตุผลมาล้อมรั้วสาระของญัตติ
*การโจมตี การกล่าวซ้ำเติม หรือกล่าวหาฝ่ายตรงข้ามว่าไร้เหตุผล
*การต่อต้าน การหักล้างเหตุผลการโจมตีของฝ่ายตรงข้ามที่กล่าวโจมตีฝ่ายตน
*การค้านอย่างมีศิลปะ การค้านจะทำได้ 3 วิธี คือ
1. ค้านญัตติ เป็นการค้านตัวญัตติหรือสาระของญัตติว่าไม่ถูกต้อง
2. ค้านเหตุผล เป็นการค้านเหตุผลที่อีกฝ่ายเสนอมา
3. ค้านข้ออ้างอิง เป็นการค้านข้ออ้างอิงที่อีกฝ่ายเสนอมา
1. ในการโต้แย้งแสดงคารม ควรใช้ความรู้ต่างๆ มาประกอบเสมอ
2.การแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นการเสนอหรือการค้าน ควรเสนอข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ ให้มีเหตุผลน่าเชื่อถือ
3. ควรมีศิลปะในการใช้ภาษาที่จะจูงใจให้ผู้ฟังมีความเห็นคล้อยตาม เห็นดีเห็นงามกับข้อคิดเห็น ข้อมูลต่างๆ ที่เสนอไป
4. การกล่าวคัดค้าน กล่าวแก้ ควรทำให้แนบเนียน จนผู้ฟังเห็นว่าเหตุผลของฝ่ายตรงข้ามใช้การไม่ได้ หรือเชื่อถือไม่ได้
5. ในขณะที่ฝ่ายตรงข้ามเสนอประเด็น ควรฟังอย่างตั้งใจ แล้วจับประเด็นสำคัญๆ ไว้เพื่อกล่าวแก้และพยายามรวบรวมเรื่องที่จะกล่าวโจมตีมากๆ
6. ควรใช้ถ้อยคำภาษาที่สุภาพ โดยคำนึงถึงวัฒนธรรมอันดีงามด้วย ไม่ควรพูดเสียดสีกันในเรื่องส่วนตัว
7.ใช้คำพูดที่เหมาะสม สั้น กะทัดรัด เข้าใจได้ในทันทีโดยไม่ต้องตีความ
8. ในขณะพูด ควรแสดงท่วงที กิริยา ท่าทาง และสีหน้าประกอบการพูด
9. การโต้วาทีไม่จำเป็นต้องขึงขังอย่างเอาจริงเอาจัง เพราะการโต้วาที มักจัดขึ้นเพื่อความสนุกสนาน หรือจัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติของงาน
10. ขณะพูด ควรควบคุมอารมณ์ให้ดี อย่าเผลอโกรธหรือแสดงอารมณ์เสีย เพราะจะเป็นจุดอ่อนให้ถูกโจมตี
11. เมื่อเสร็จสิ้นการโต้วาทีแล้ว เรื่องต่างๆที่ว่ากล่าวกันควรเลิกกันไป
12. หากมีการตัดสินให้แพ้ ควรวางสีหน้ายิ้มแย้ม อย่าแสดงอาการไม่พอใจ
วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น